Page 30 - ทช21003
P. 30

27





                     ชาวอินเดีย  ครั้งนั้น   แสดงให้เห็นอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปะไทยในทุก  ๆ  ด้านรวมทั้งภาษา

                     วรรณกรรม ศิลปกรรม โดยกระจายเป็นกลุ่มศิลปะสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี
                     เมื่อกลุ่มคนไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแล้ว ศิลปะดังกล่าวจะตกทอดกลายเป็นศิลปะไทย ช่างไทยพยายาม

                     สร้างสรรค์ให้มีลักษณะพิเศษกว่า งานศิลปะของชาติอื่น ๆ คือ จะมีลวดลายไทยเป็นเครื่องตกแต่ง ซึ่ง

                     ทําให้ลักษณะของศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะมีความอ่อนหวาน  ละมุนละไม  และได้สอดแทรก

                     วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานอย่างลงตัว ดังจะเห็นได้จาก
                     ภาพฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ ปราสาทราชวัง ตลอดจนเครื่องประดับและเครื่องใช้ทั่วไป

                            ประวัติศิลปะไทย ศิลปะไทยแบ่งได้เป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้

                            1.  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย คือ
                                 1.1  แบบทวาราวดี ( ราว พ.ศ. 500 – 1200 )

                                        เป็นฝีมือของชนชาติอินเดีย ซึ่งอพยพมาสู่สุวรรณภูมิ ศูนย์กลางอยู่นครปฐมเป็นศิลปะ

                     แบบอุดมคติ รุ่นแรกเป็นฝีมือชาวอินเดีย แต่มาระยะหลังเป็นฝีมือของชาวพื้นเมืองโดยสอดใส่อุดมคติ
                     ทางความงาม ตลอดจนลักษณะทางเชื้อชาติ ศิลปะที่สําคัญคือ

                                        1.1.2  ประติมากรรม   พระพุทธรูปแบบทวาราวดี สังเกตได้ชัดเจนคือพระพุทธรูปนั่ง

                     ห้อยพระบาทและยกพระหัตถ์ขึ้น      โดยส่วนมากสลักด้วยหินปูน   ภาพสลักมากคือบริเวณพระปฐม
                     เจดีย์ คือ ธรรมจักรกับกวางหมอบ

                                        1.1.2  สถาปัตยกรรม ที่ปรากฏหลักฐาน บริเวณนครปฐม กาญจนบุรี  ราชบุรี อ่างทอง

                     สุพรรณบุรี ได้แก่ สถูปลักษณะเนินดิน ทําเป็นมะนาวผ่าซีกหรือรูปบาตรควํ่า อยู่บนฐานสี่เหลี่ยม เช่น

                     เจดีย์นครปฐมองค์เดิม
                                 1.2  แบบศรีวิชัย (ราว พ.ศ. 1200 – 1700 )

                                              เป็นศิลปะแบบอินเดีย - ชวา ศูนย์กลางของศิลปะนี้อยู่ที่ไชยา มีอาณาเขตของศิลปะศรี

                     วิชัย เกาะสุมาตรตรา    พวกศรีวิชัยเดิมเป็นพวกที่อพยพมาจากอินเดียตอนใต้  แพร่เข้ามาพร้อมกับ

                     พระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน  ได้สร้างสิ่งมหัศจรรย์ของโลกไว้อย่างหนึ่งโดยสลักเขาทั้งลูกให้เป็น
                     เขาไกรลาศ  คือ สถูปโบโรบูเดอร์  ศิลปะกรรมในประเทศไทย คือ

                                        1.2.1 ประติมากรรม   ค้นพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร   ทําเป็นสัมฤทธิ์ที่ไชยา

                     โดยสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ถือว่าเป็นศิลปะชั้นเยี่ยมของแบบศรีวิชัย
                                        1.2.2  สถาปัตยกรรม มีงานตกแต่งเข้ามาปนอยู่ในสถูป เช่นสถูปพระบรมธาตุไชยา

                     สถูปวัดมหาธาตุ

                                        1.3  แบบลพบุรี (ราว พ.ศ. 1700 - 1800)
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35