Page 26 - ทช21003
P. 26

23





                            1.  ขนาดและสัดส่วนนํามาใช้ในการจัดที่อยู่อาศัย ได้แก่

                                       1.1 ขนาดของห้อง ในการกําหนดขนาดของห้องต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทํา หากเป็น

                     ห้องที่ใช้กิจกรรมมาก  เช่น  ห้องอาหาร  ห้องครัว  หรือห้องรับแขก  ควรกําหนดขนาดของห้องให้มี
                     พื้นที่รองรับกิจกรรมนั้น ๆ ให้เหมาะสม ไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะทําให้คับแคบและไม่สะดวกต่อ

                     การทํากิจกรรม

                                 1.2  จํานวนของสมาชิกในครอบครัว ในการกําหนดขนาดของห้องต่าง ๆ ควรคํานึงถึง
                     จํานวนของสมาชิกว่ามีมากน้อยเพียงใด  เพื่อจะได้กําหนดขนาดของห้องให้เหมาะสมกับสมาชิก

                                        1.3  เครื่องเรือน ในการกําหนดขนาดของเครื่องเรือน ควรกําหนดให้มีขนาดพอดีกับห้อง

                     และสมาชิก  หรือขนาดพอเหมาะกับสมาชิกไม่สูงหรือเตี้ย  ขนใช้งานไม่สะดวก  ในการออกแบบ
                     เครื่องเรือน หรือจัดพื้นที่ภายในบ้านจะมีเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไป ดังนี้

                            2.  ความกลมกลืน (Harmony)  ความกลมกลืนของศิลปะที่นํามา  ใช้ในการจัดตกแต่งที่อยู่

                     ได้แก่

                                 2.1  ความกลมกลืนของการตกแต่งที่อยู่อาศัย การนําธรรมชาติมาผสมผสานในการตกแต่ง
                     จะทําให้เกิดความสัมพันธ์ที่งดงามการใช้ต้นไม้ตกแต่งภายในอาคารจะทําให้เกิดบรรยากาศที่ร่มรื่น

                     เบิกบานและเป็นธรรมชาติ

                                 2.2  ความกลมกลืนของเครื่องเรือนในการตกแต่งภายในการเลือกเครื่องเรือนเครื่องใช้ที่
                     เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้สอย  จะทําให้เกิดความสัมพันธ์ในการใช้งาน  การเลือกวัสดุที่ใช้

                     ประกอบเครื่องเรือนภายในครัว ควรเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ทนร้อนและทนรอยขูดขีดได้ดี เช่น

                     ฟอร์ไมก้า แกรนิตหรือกระเบื้องเคลือบต่าง ๆ

                                 2.3  ความกลมกลืนของสี  ในการตกแต่ง  ซึ่งต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง   เพราะหากใช้
                     ไม่ถูกต้องแล้ว  จะทําให้ความกลมกลืนกลายเป็นความขัดแย้ง   การใช้สีกลมกลืนภายในอาคาร

                     ควรคํานึงถึงวัตถุประสงค์ของห้องผู้ใช้     เครื่องเรือนและการตกแต่ง     การใช้สีกลมกลืนควรใช้

                     วิจารณญาณ เลือกสีให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้
                            3. การตัดกัน    โดยทั่วไปของการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยนิยมทําในรูปแบบของการขัดกันใน

                     การใช้เครื่องเรือนในการตกแต่ง เพื่อสร้างจุดเด่นหรือจุดสนใจในการตกแต่งไม่ให้เกิดความกลมกลืน

                     มากเกินไป  การออกแบบเครื่องเรือนแบบร่วมสมัย  จึงได้รับความนิยมเนื่องจากสร้างความโดดเด่น
                     ของการตกแต่งได้เป็นอย่างดี

                            4. เอกภาพ ในการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ    หากขาดเอกภาพงานที่สําเร็จจะขาดความสมบูรณ์ใน

                     การตกแต่งภายใน การรวมกลุ่มกิจกรรมเข้าด้วยกัน การรวมพื้นที่ในห้องต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกิจกรรม

                     จึงเป็นการใช้เอกภาพในการจัดพื้นที่ที่ชัดเจน   การจัดเอกภาพของเครื่องเรือนเครื่องใช้ก็เป็นสิ่งสําคัญ
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31