Page 132 - การให้รหัสโรค
P. 132
121
สรุป
รหัสบางกลุ่มในบทกล้ามเนื้อและกระดูก รหัสกระดูกหัก รหัสการบาดเจ็บอวัยวะภายใน และ
รหัสสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บเป็นรหัสตำแหน่งที่ห้า ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นรหัสย่อยที่ซ่อน
อยู่ และอาจมีข้อแนะนำให้หารหัสดังกล่าวในวงเล็บสี่เหลี่ยม [ ] หรืออาจเป็นรหัสที่อธิบายไว้ภายใน
คำอธิบายต้นบท หรือคำอธิบายกลุ่มรหัส รหัสตำแหน่งโรคกล้ามเนื้อและกระดูก หรือ site code เป็น
รหัสโรคตำแหน่งที่ 5 อยู่ในเล่มที่ 1 ในบทที่ 13 และมีคำแนะนำให้หารหัส site code ในเครื่องหมาย
[ ] ที่อยู่ภายใต้กลุ่มรหัส กรณีผู้ป่วยกระดูกหัก ผู้ให้รหัสต้องตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นชนิด Closed
หรือ Open ถ้าพบว่าเป็น Closed ต้องให้ตำแหน่งที่ 5 เป็นเลข 0 ถ้าพบว่าเป็นชนิด Open ต้องใส่
ิ
เลข 1 แทน ส่วนตำแหน่งที่ 6 เป็นชนิดหรือลักษณพเศษของกระดูกที่หัก ในทำนองเดียวกันรหัส
ภาวะการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน ใช้ตัวเลขเพียงสองตัวคือเลข 0 หรือ 1
นอกจากนี้รหัสตำแหน่งที่ 4 และ 5 มีลักษณะเป็นรหัสที่ซ่อนอยู่เช่นเดียวกัน โดยปรากฏอยู่
เฉพาะในคำอธิบายต้นบทของบทที่ 20 เพยงที่เดียว ในขณะที่การให้รหัสเสริมจะมีประโยชน์ในการให้
ี
ิ่
ี
ื่
รายละเอยดหรือเพอระบุข้อมูลเพมเติม เช่น รหัสบอกเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ (B95-B97) รหัสระบุชนิด
ของอมพาต (G81-G83) รหัสระบุยาที่เกิดผลข้างเคียง (Y40-Y59) รหัสระบุ Sequelae (I64) และ
ั
รหัสที่บอกท่าคลอด (O80-O84) ซึ่งรหัสเหล่านี้ห้ามนำมาใช้เป็นรหัสหลัก
แบบฝึกหัดท้ายบท
คำสั่ง ใช้หนังสือ ICD-10 เล่มที่ 1 และเล่มที่ 2 ค้นหารหัสโรคดังต่อไปนี้
โรค ลำดับคำหลักและคำขยาย รหัสโรค
Staphylococcal temporal brain
abscess
HIV infection with cryptococcal
meningitis
Aplastic anemia (Chloramphenicol
side effect)
Myeloid metaplasia
Type 1 Diabetes with nephropathy
Metabolic acidosis with respiratory
alkalosis
Herpes simplex encephalitis
Mitral stenosis, mitral regurgitation,
aortic stenosis, aortic regurgitation
Chronic obstructive pulmonary
disease with acute exacebation
Aspiration pneumonia with lung
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ