Page 134 - การให้รหัสโรค
P. 134
123
6
การให้รหัสโรคระดับสูง
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objective of learning)
เมื่อศึกษาเนื้อหาในบทนี้จบแล้ว สามารถ
1. เข้าใจและอธิบายรหัสการบาดเจ็บและสาเหตุภายนอกการบาดเจ็บได้
2. เข้าใจและอธิบายการค้นหารหัสสาเหตุภายนอกการบาดเจ็บได้
3. เข้าใจและอธิบายการค้นหารหัสตำแหน่งที่ 4 และ 5 ของรหัสสาเหตุภายนอกการบาดเจ็บ
ได้
4. เข้าใจและอธิบายการค้นหารหัสโรคกรณีผู้ป่วยเป็นเนื้องอกและมะเร็งได้
สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บจะให้รหัสใน 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกให้รหัสที่แสดงลักษณะของการ
บาดเจ็บให้ครบทุกตำแหน่งอวัยวะที่บาดเจ็บ และลักษณะที่สองให้รหัสที่แสดงสาเหตุภายนอกการ
บาดเจ็บ ผู้ให้รหัสต้องให้รหัสทั้งสองลักษณะข้างต้น ให้ครบในผู้ป่วยบาดเจ็บทุกราย โดยมีหลักการ
และวิธีการดังต่อไปนี้
การให้รหัสการบาดเจ็บ
หลักการให้รหัสการบาดเจ็บควรลงให้ครบทุกตำแหน่งและทุกลักษณะของการบาดเจ็บ ไม่
ควรให้รหัสแบบกำกวม รหัส S00-S99 ในบทที่ 19 ของ ICD-10 เป็นรหัสที่ใช้มากที่สุดในการลงรหัส
ลักษณะและตำแหน่งการบาดเจ็บ เนื่องจากผู้ป่วยที่บาดเจ็บส่วนใหญ่บาดเจ็บจากการใช้ยานพาหนะ
จะมีการบาดเจ็บหลายตำแหน่งก็ต้องให้รหัส S หลายๆ รหัสในการบันทึกรายละเอยดการบาดเจ็บ
ี
ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยตกต้นไม้ พบบาดแผล ศีรษะแตก กระดูกขาหัก แขนหัก อาจมีรหัส S ได้
ทั้งหมด 3 รหัส
ข้อควรระวังในกรณีบาดเจ็บ มี 2 กรณี กรณีแรกคือผู้ป่วยที่บาดเจ็บ แพทย์อาจสรุปการ
ี
ี
วินิจฉัยโรคไม่ละเอยดโดยบันทึกเพยงว่า Multiple injury ผู้ให้ต้องค้นหาข้อมูลเพมเติมให้ละเอยด
ี
ิ่
ก่อนลงรหัส กรณีที่สอง ในรหัสหมวด T00 – T07 และ T08 – T14 มีรหัสในลักษณะ Multiple
injury อยู่ ซึ่งหากนำรหัสดังกล่าวมาใช้ อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการคำนวณหรือจัดกลุ่ม DRG ได้
ควรหลีกเลี่ยงการใช้รหัสกลุ่มนี้
วิธีการให้รหัสลักษณะและตำแหน่งการบาดเจ็บ เป็นวิธีการเดียวกับรหัสทั่วไป เพยงแต่ต้อง
ี
ระวังเรื่องตำแหน่งที่ 5 ที่อาจปรากฏในบางกลุ่มรหัส และระวังการใช้รหัส T00 – T14
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ