Page 34 - การให้รหัสโรค
P. 34
23
2. ระบบการจัดกลุ่มรหัสโรคตามลักษณะผู้ป่วย
มนุษย์มีลักษณะความแตกต่างกัน ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy) ทารก (Infant) และ
ประชาชนทั่วไป ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งกลุ่มโรคตามลักษณะของผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ดังภาพ
ที่ 3.2
ลักษณะผู้ป่วยที่ต้องการ
บริการรักษาโรค
หญิงตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิด ประชาชนกลุ่มอื่น
(โรคที่พบ)
(โรคที่พบ)
Code O Code P (โรคที่พบที่ไม่ใช่หญิงตั้งครรภ์ และ
ทารกแรกเกิด)
ภาพที่ 3.2 ระบบการจัดกลุ่มรหัสโรคตามลักษณะผู้ป่วย
2.1 กลุ่มโรคที่พบในหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหรือภาวะต่างๆของการตั้งครรภ์ (pregnancy)
การคลอด (childbirth) และระยะหลังคลอด (puerperium) รหัสจะอยู่ในบทที่ 15 pregnancy,
ั
ั
childbirth and the puerperium โดยใช้อกษร O บทนี้ใช้สำหรับภาวะที่เกี่ยวข้องกบหรือกำเริบ
ขึ้นโดยการตั้งครรภ์ การคลอด หรือระยะหลังคลอด (สาเหตุทางด้านมารดาหรือสาเหตุทางสูติกรรม)
ในบทนี้จะไม่รวม: โรคและการบาดเจ็บบางอย่างที่แทรกซ้อนการตั้งครรภ์ การคลอด และ
ระยะหลังคลอด ที่ได้จำแนกไว้ที่อื่น ได้แก ่
- สาเหตุภายนอก (ของการตาย) (V01-Y89)
- การบาดเจ็บ ได้รับพษ และผลสืบเนื่องบางอย่างของสาเหตุภายนอก (S00-
ิ
T88.1, T88.6-T98)
- ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดร่วมกับระยะหลังคลอด (F53.-)
- บาดทะยักจากการคลอด (A34)
- เนื้อตายของต่อมใต้สมองหลังคลอด (E23.0)
- โรคกระดูกน่วมในระยะหลังคลอด (M83.0)
การดูแล ได้แก ่
- ครรภ์ความเสี่ยงสูง (Z35.)
- ครรภ์ปกติ (Z34.-)
โรคในหญิงตั้งครรภ์ หมายถึง โรคส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับหญิงวัยเจริญพนธ์ในช่วงตั้งแต่พบว่า
ั
ตนเองตั้งครรภ์ หรือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นระหว่างการคลอด หรือเป็นโรคที่เกิดขึ้นหลังคลอด หรือหลัง
แท้งบุตร โดยเกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดหรือแท้ง ตัวอย่างภาวะและกรณีต่างๆ ที่ใช้รหัส
บทที่ 15 ประกอบด้วยกลุ่มรหัสต่อไปนี้
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ