Page 217 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 217
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารและเครื่องเทศ
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชสมุนไพรเมืองหนาวที่มีศักยภาพ
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และลักษณะทางการเกษตร
ของหญ้าหวาน
Comparative Study on Botany and Agricultural Character of
Stevia rebaudiana Bertoni.
1/
1/
4. คณะผู้ด าเนินงาน สุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง เกษม ทองขาว
2/
ศรีสุดา โท้ทอง ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์ 2/
จันทร์เพ็ญ แสนพรหม อนันต์ ปัญญาเพิ่ม
1/
1/
สมคิด รัตนบุรี
1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และลักษณะทางการเกษตรของหญ้าหวาน ณ ศูนย์วิจัย
เกษตรหลวงเชียงใหม่ – แม่จอนหลวง จ. เชียงใหม่ ระดับความสูง 1,300 เมตร และแปลงเกษตรกร อ.สะเมิง
ความสูง 700 เมตร พบว่าต้นหญ้าหวานมีการเจริญเติบโตได้ในระดับความสูงที่ 700 และ 1,300 เมตร
พบว่าหญ้าหวานจัดเป็นพืชล้มลุกระยะยาว มีลักษณะคล้ายต้นกะเพราหรือต้นแมงลัก สามารถขยายพันธุ์ได้
โดยการปักช า แยกกอ และเพาะเมล็ด พบว่าช่วงฤดูหนาวการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับ
ช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน จากการปลูกรวบรวมหญ้าหวานที่ได้จากการส ารวจ สามารถแยกลักษณะความ
แตกต่างกันทางสัณฐานวิทยาได้ 5 กลุ่มลักษณะ คือ 1) ใบใหญ่มีขน 2) ยอดอ่อนสีม่วง 3) ใบแคบสั น
(แม่จอนหลวง) 4) ใบแคบยาว (ไต้หวัน) และ 5) ทรงพุ่มเล็ก ด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม
ของหญ้าหวานจ านวน 4 สายพันธุ์ (ไม่รวมสายพันธุ์ใบแคบสั น (แม่จอนหลวง)) พบว่ามีความแตกต่างกัน
ทางพันธุกรรมทั งหมด ด้านผลผลิตพบว่าสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตหญ้าหวาน ทุก 45 วัน หลังจากนั นท าการ
บ ารุงรักษาต้นหญ้าหวานเพื่อให้มีผลผลิตในการเก็บเกี่ยวครั งต่อไป ในการวิเคราะห์หาปริมาณสารสตี
วิโอไซด์ พบว่าหญ้าหวานสายพันธุ์ยอดอ่อนสีม่วง มีปริมาณสารสตีวิโอไซด์มากที่สุด รองลงมาคือ
สายพันธุ์ใบแคบสั น (แม่จอนหลวง), สายพันธุ์ใบแคบยาว (ไต้หวัน), สายพันธุ์ใบใหญ่มีขน และสายพันธุ์
ทรงพุ่มเล็ก มีปริมาณสารสตีวิโอไซด์เท่ากับ 40.58 g. stevioside/ g. sample, 7.99 g. stevioside/
g. sample, 5.99 g. stevioside/ g. sample, 5.94 g. stevioside/ g. sample และ 5.27 g. Stevioside/
g. sample ตามล าดับ ส่วนปริมาณซาโปนินในต้นหญ้าหวาน พบว่าในหญ้าหวานสายพันธุ์ใบแคบยาว
(ไต้หวัน) มีปริมาณสารซาโปนินสูงสุดที่ 52.00 ± 1.35 มิลลิกรัมต่อกรัม รองลงมาคือหญ้าหวานสายพันธุ์ใบ
แคบสั น (แม่จอนหลวง), สายพันธุ์ทรงพุ่มเล็ก, สายพันธุ์ยอดอ่อนสีม่วง และ สายพันธุ์ใบใหญ่มีขน
มีปริมาณสารซาโปนินเท่ากับ 51.13 ± 0.36 มิลลิกรัมต่อกรัม, 51.12± 1.05 มิลลิกรัมต่อกรัม 50.82± 1.80
มิลลิกรัมต่อกรัม และ 45.20± 2.50 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามล าดับ ด้านความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ
ของหญ้าหวานในช่วงก่อนออกดอก พบว่าหญ้าหวานสายพันธุ์ทรงพุ่มเล็กมีค่าความสามารถในการต้านอนุมูล
อิสระสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 77.43±0.01 รองลงมาคือหญ้าหวานสายพันธุ์ยอดอ่อนสีม่วง, สายพันธุ์ใบแคบสั น
______________________________________
1/
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
2/ สถาบันวิจัยพืชสวน
199