Page 337 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 337

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560


                       1. ชุดโครงการวิจัย          ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่ที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคกลาง

                                                   และภาคตะวันตก
                       2. โครงการวิจัย             ทดสอบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนจังหวัด
                                                   นครปฐม
                       3. ชื่อการทดลอง             ทดสอบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนจังหวัด

                                                   นครปฐม
                                                   Testing Fertilizer by Soil Analysis for Baby Corn Production in
                                                   Nakhonphathom Province
                                                                   1/
                                                                                                  1/
                       4. คณะผู้ด าเนินงาน         สุภัค  กาญจนเกษร             เพทาย  กาญจนเกษร
                                                   อดุลย์รัตน์  แคล้วคลาด       ศิริจันทร์  อินทร์น้อย
                                                                                                 1/
                                                                      1/
                                                   เครือวัลย์  บุญเงิน 2/
                       5. บทคัดย่อ
                              การทดสอบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนจังหวัดนครปฐม เพื่อทดสอบ

                       การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยในการผลิตของเกษตรกร ด าเนินการทดลอง
                       ณ แปลงเกษตรกรในพื้นที่อ าเภอก าแพงแสน จังหวัดนครปฐม ระว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึง กันยายน
                       25560 การจากทดสอบพบว่า แปลงเกษตรกรทุกรายที่ท าการทดสอบดินมีค่าความเป็นกรดด่างด่างปาน

                       กลางโดยมีค่าอยู่ในช่วง 7.39  –  8.26 ส าหรับค่าสภาพการน าไฟฟ้าของดินมีค่าต่ าหรือดินไม่มีปัญหาดินเค็ม
                       แต่อาจจะเริ่มมีผลกระทบต่อพืชที่ตอบสนองเร็วต่อความเค็ม ซึ่งอาจท าให้การเจริญเติบโตเริ่มลดลงโดยมีค่า
                       อยู่ในช่วง 0.51  –  2.12 ดินแปลงเกษตรกรมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ าจนถึงปานกลางมีค่าอยู่ในช่วง
                       1.13  –  2.02 มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์สูง มีปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม
                       และแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในปริมาณสูงมากทุกแปลง ส่วนเนื้อดินมีเนื้อดินร่วนเหนียวปนทราย

                       และดินร่วนปนทราย ส าหรับการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพดฝักอ่อนในปีการผลิต 2559 และ 2560
                       ต้นข้าวโพดฝักอ่อนในแปลงทดสอบเทคโนโลยีมีการเจริญเติบโตด้านความสูงล าต้นดีกว่าแปลงของเกษตรกร
                       ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการให้ผลผลิตนั้นในปีการผลิต 2559 และปีการผลิต 2560 แปลงข้าวโพด

                       ฝักอ่อนในกรรมวิธีทดสอบมีปริมาณผลผลิต(กิโลกรัมต่อไร่) สูงกว่าปริมาณข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร
                       ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลความกว้าง และความยาวฝักก่อนปอกเปลือก ความกว้าง
                       ความยาวฝักภายหลังการปอกเปลือก ที่แสดงว่ากรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตสูงกว่า
                       กรรมวิธีเกษตรกร

                       6. การน าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              ตีพิมพ์ผลงานทางรายงานการประชุม และจัดท าเป็นค าแนะน าเผยแพร่ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวาน
                       ในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง
                              จัดท าแปลงขยายผลเทคโนโลยีในการผลิตข้าวโพดหวานแก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด



                       _____________________________________
                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม

                       2/ ส านักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5



                                                          319
   332   333   334   335   336   337   338   339   340   341   342