Page 485 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 485
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560
1. ชุดโครงการวิจัย การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย การผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
3. ชื่อการทดลอง การโคลนยีนแลคเคสที่ควบคุมการย่อยสลายลิกนินทางชีวภาพ
โดยใช้เทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ
Cloning of Laccase gene for Lignin Biodegradation Using Recombinant
DNA Technology.
1/
1/
4. คณะผู้ด าเนินงาน ภรณี สว่างศรี อัจฉราพรรณ ใจเจริญ
สุภาวดี ง้อเหรียญ รุ่งนภา พิทักษ์ตันสกุล
1/
1/
1/
บุญเรือนรัตน์ เรืองวิเศษ
5. บทคัดย่อ
แลคเคส เป็นเอนไซม์ที่ย่อยสลายลิกนินสามารถผลิตโดยเชื้อราขาว Ganoderma การทดสอบ
การผลิตเอนไซม์แลคเคสในอาหารเหลวที่มีลิกนินเป็นองค์ประกอบ 1 เปอร์เซ็นต์ (น้ าหนักโดยปริมาตร)
เพื่อเป็นแหล่งคาร์บอนและเป็นตัวเหนี่ยวน าส าหรับการผลิตเอนไซม์แลคเคส งานวิจัยนี้ได้คัดเลือกเชื้อ
Ganoderma sp. ไอโซเลท G1-1 ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์แลคเคสได้ดีที่สุด เมื่อน ามาจ าแนกชนิด
โดยการวิเคราะห์ล าดับเบสในส่วนของ internal transcribed spacer (ITS) และเปรียบเทียบล าดับเบส
กับฐานข้อมูลใน GanBank พบว่า มีความคล้ายคลึงกับเชื้อ Ganoderma lucidum ที่ความเหมือน
100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้เมื่อโคลนยีนแลคเคสจากเชื้อ Ganoderma sp. ไอโซเลท G1-1 โดยการท า
ปฏิกิริยา RT-PCR พบว่าชิ้นยีนแลคเคสที่ได้มีขนาด 1,563 คู่เบส ซึ่งมีล าดับของเพปไทด์ เท่ากับ 520
อะมิโนแอซิด การศึกษาการแสดงออกของยีนโดยการเชื่อมต่อชิ้นยีนแลคเคสเข้ากับ expression vector
pLATE52 และถ่ายฝากเข้าสู่ E. coli BL21 (DE3) ทดสอบการผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีน โดยการชักน า
ด้วยสาร IPTG และวิเคราะห์รีคอมบิแนนท์เอนไซม์แลคเคสด้วยวิธี SDS-PAGE
6. การน าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
เชื้อ Ganoderma lucidum ไอโซเลท G1 สามารถน าไปพัฒนาต่อยอดการผลิตเอนไซม์
เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานจากชีวมวลลิกโนเซลลูโลส การก าจัดสีของน้ าเสียจากอุตสาหกรรมทอ
ผ้า ฟอกย้อมเยื่อกระดาษ การย่อยสลายของสารก าจัดแมลงศัตรูพืชพวก Isoxaflutole เป็นต้น
สามารถน าพลาสมิดดีเอ็นเอสายผสมหรือยีน laccase ที่ได้จากเชื้อรา Ganoderma lucidum
ไอโซเลท G1 ถ่ายฝากเข้าสู่เซลล์ยีสต์เพื่อการผลิตเอนไซม์ในระบบอุตสาหกรรม ช่วยทดแทนการน าเข้าจาก
ต่างประเทศ
_________________________________________
1/ ส านักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
467