Page 497 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 497

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560


                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยง
                                                   เนื้อเยื่อ
                       3. ชื่อการทดลอง             การขยายพันธุ์มันฝรั่งโดยใช้ระบบ Temporary Immersion Bioreactor
                                                   Mass of Potato Propagated Materials using Temporary Immersion

                                                   Bioreactor
                                                                                                1/
                                                                    1/
                       4. คณะผู้ด าเนินงาน         ชยานิจ  ดิษฐบรรจง            กษิดิศ  ดิษฐบรรจง
                                                   ภุมรินทร์  วณิชชนานันท์      ไพฑูรย์  บุปผาดา
                                                                                               1/
                                                                       1/
                                                   ศิริลักษณ์  อินทวงศ์ 2/
                       5. บทคัดย่อ
                              ด าเนินการศึกษาการขยายพันธุ์มันฝรั่งปลอดโรค โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของมันฝรั่ง
                       ให้ได้ส่วนขยายพันธุ์ปลอดโรค พัฒนาหาสูตรอาหารและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการชักน าให้เกิด
                       micro shootโดยใช้ระบบ Temporary Immersion Bioreactor (TIB) เพื่อผลิตส่วนขยายพันธุ์มันฝรั่งที่

                       ปลอดโรคในเชิงพาณิชย์ ด าเนินการระหว่างปี 2559 ถึง ปี 2560 ในการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนเพื่อให้ปลอดโรค
                       การใช้ apical meristem ขนาด 0.1 ถึง 0.2 เซนติเมตร เมื่อเลี้ยงบนอาหารแข็ง MS ร่วมกับ BA 5 µM
                       สามารถชักน าให้มีการพัฒนาเป็นยอดที่สมบูรณ์ยอด ในพันธุ์แอตแลนติก 36 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์สปุนตา

                       24 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อ PVY ด้วยวิธีเซรุ่มวิทยา พบการปลอดโรคสูงถึง
                       ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อศึกษาการเพิ่มปริมาณยอดรวมในระบบ TIB เทียบกับการเลี้ยงในอาหารเหลว
                       มันฝรั่งแอตแลนติกและสปุนตา สามารถเพิ่มปริมาณยอดรวมได้สูง 5.2 ยอด และ4.2 ยอด ต่อ 1 ชิ้นส่วนพืช
                       ตามล าดับและมีความสูงของยอดในเกณฑ์ปกติ เมื่อเลี้ยงในอาหารเหลว MS ที่มี GA3 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร
                       และ NAA 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนในระบบ TIB สามารถให้ปริมาณยอดรวมสูงสุด 4.8 ยอดและ3.6 ยอด

                       ตามล าดับในอาหารสูตรเดียวกัน โดยให้อาหาร 8 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 10 นาที เมื่อศึกษาผลของ BA และ
                       น้ าตาลซูโครสต่อการเกิด micro tubers ในอาหารเหลว พบว่าอาหารสูตร MS ที่เติม BA 40 µM และ
                       น้ าตาลซูโครส ร่วมกับ 6 ถึง 8 % Chlorocholine chloride ( CCC) 500 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักน าให้

                       เกิด micro tubers ได้มากที่สุดในพันธุ์แอตแลนติก ส่วนพันธุ์สปุนต้า อาหารเหลว MS ที่เติม BA 20 µM
                       และน้ าตาลซูโครส 8 เปอร์เซ็นต์ สามารถชักน าให้เกิด micro tubers ได้ดีที่สุด แต่ในระบบ TIB ยังไม่
                       สามารถสรุปได้เนื่องจากทั้งแผนงานวิจัยถูกระงับการด าเนินงาน และยังมีปัจจัยที่ต้องศึกษาอีก เช่น
                       ระยะเวลาการให้อาหารสัมผัสชิ้นส่วนพืช และ ความเข้มข้นของ CCC








                       _____________________________________
                       1/ ส านักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
                       2/ ส านักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขต1



                                                          479
   492   493   494   495   496   497   498   499   500   501   502