Page 492 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 492
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย การผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
3. ชื่อการทดลอง การพัฒนาเครื่องปั่นเหวี่ยงแยกตะกอนสาหร่ายชีวมวลในระดับชุมชน
Development of Centrifugal Separator for Algae Biomass
1/
4. คณะผู้ด าเนินงาน วุฒิพล จันทร์สระคู ประยูร เอ็นมาก 3/
2/
รุ่งนภา พิทักษ์ตันสกุล บุญเรือนรัตน์ เรืองวิเศษ 2/
พินิจ จิรัคคกุล 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยและพัฒนาเครื่องปั่นเหวี่ยงแยกตะกอนสาหร่ายชีวมวลในระดับ
ชุมชน โดยด าเนินการออกแบบและสร้างเครื่องมือต้นแบบส าหรับใช้ในกระบวนการผลิตพลังงานทดแทน
ระดับชุมชน เปรียบเทียบกับวิธีการแยกตะกอนสาหร่ายด้วยวิธีปฏิบัติของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสาหร่าย
ในบ่อเพาะเลี้ยงคอนกรีตเคลือบไฟเบอร์กลาส ในกระบวนการทดลองนี้ท าการแปรผันความเร็วรอบ
และระยะเวลาของการปั่นเหวี่ยงโดยใช้ความเร็วรอบ 3,000, 4,000 และ 5,000 รอบต่อนาที และระยะเวลา
ที่ใช้ปั่น 5, 10 และ 15 นาที แล้วเก็บตัวอย่างของเหลวที่ผ่านการปั่นเหวี่ยงแล้วมาใส่ในหลอดปั่นเหวี่ยง
แล้วน าไปแยกตะกอนด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงในห้องปฏิบัติการ พบว่าที่ความเร็วรอบ 5,000 rpm เวลา 10 นาที
เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสามารถเก็บเกี่ยวเซลล์ได้สูงที่สุด โดยพบปริมาณเซลล์ที่เหลือจากการปั่นเหวี่ยง
น้อยที่สุดคือ 0.23 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นนี้ จะน าไปใช้ในการพัฒนาเครื่องปั่นเหวี่ยงในระดับ
ขยายขนาดต่อไป
6. การน าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
- เป็นองค์ความรู้ในการวิจัยต่อไป เผยแพร่ในรายงานประจ าปี หรือวารสารกรมวิชาการเกษตร
หรือการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการต่าง ๆ
- ได้เทคโนโลยีการผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายเพื่อถ่ายทอดสู่ระดับชุมชน และภาคเอกชน
ในการผลิตไบโอเอทานอลจากพืชและวัสดุชีวมวลต่าง ๆ ทางการเกษตรเพื่อน าไปใช้ประโยชน์
- หน่วยงานที่น าผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้แก่ หน่วยงานภายในกรมวิชาการเกษตร เกษตรกร
ที่ร่วมโครงการหรือภาคเอกชนรายย่อยที่สนใจ
_______________________________________
1/ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น
2/
ส านักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
3/
กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
474