Page 531 - บทคดยอการทดลองสนสด 60 สมบรณ_Neat
P. 531

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2560


                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการคุ้มครองพันธุ์พืช

                       2. โครงการวิจัย             ศึกษาและพัฒนาการคุ้มครองพันธุ์พืชตามแผนปฏิบัติการประชาคมอาเซียน
                       3. ชื่อการทดลอง             พัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวาย
                                                                1/
                                                                                                   1/
                       4. คณะผู้ด าเนินงาน        รุ่งทิวา  ธน าธาตุ            เบ็ญจวรรณ์  จ ารูญพงษ์
                                                                                              1/
                                                              1/
                                                   วาสนา  มั่งคั่ง              ยุวลักษณ์  ผายดี
                       5. บทคัดย่อ
                              หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายของไทย ใช้มาระยะเวลาหนึ่งแล้วโดยยังไม่มี
                       การปรับปรุงแก้ไข ซึ่งไม่สามารถใช้ตรวจสอบพันธุ์พืชที่น ามายื่นขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ได้อย่างมี
                       ประสิทธิภาพ เนื่องจากปรากฏลักษณะใหม่เพิ่มขึ้นมา ประกอบกับมีความแตกต่างจากหลักเกณฑ์ฯ

                       ของสหภาพระหว่างประเทศด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV) และกลุ่มประเทศอาเซียนและ
                       ประเทศต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องของจ านวนลักษณะที่น ามาใช้ ซึ่ง UPOV ใช้ลักษณะ
                       ทางสัณฐานวิทยา ส าหรับตรวจสอบพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวาย จ านวน 98 ลักษณะ ประเทศมาเลเซียใช้
                       จ านวน 99 ลักษณะ ประเทศสิงคโปร์ใช้ 128 ลักษณะ ส่วนประเทศไทยใช้ จ านวน 117 ลักษณะ

                       ซึ่งหลักเกณฑ์ฯ ของประเทศในกลุ่มอาเซียนส่วนใหญ่ ประยุกต์มาจากสหภาพระหว่างประเทศด้านการ
                       คุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เห็นได้ว่าหลักเกณฑ์ฯ ของประเทศไทยมีจ านวนลักษณะที่แตกต่างจากของ UPOV
                       และประเทศอื่นๆในอาเซียน ประกอบกับการร่างหลักเกณฑ์ฯ พืชดังกล่าว ของกลุ่มประเทศอาเซียนยังไม่เคย

                       พิจารณาจัดท าร่วมกันมาก่อน ดังนั้นหลักเกณฑ์ฯ ของพืชดังกล่าว ในกลุ่มประเทศอาเซียนน่าจะมีความ
                       แตกต่างกัน ซึ่งการพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายได้ศึกษาหลักเกณฑ์การ
                       ตรวจสอบของประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และของ UPOV และศึกษาเพิ่มเติมจากพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายที่มี
                       อยู่ในประเทศไทย แล้วยกร่างหลักเกณฑ์ฯ ขึ้นมาใหม่ มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีความรู้
                       ความเชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้สกุลหวายจ านวน 2 ครั้ง จนได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบกล้วยไม้สกุลหวาย

                       ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบ การประเมินผล และมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ใช้ในการ
                       จ าแนกความแตกต่างระหว่างพันธุ์ จ านวน 124 ลักษณะ และจากการน าหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวไปทดสอบใช้
                       พบว่าสามารถใช้จ าแนกความแตกต่างระหว่างพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายได้ นอกจากนั้นยังได้จัดท าคู่มือการ

                       ตรวจสอบลักษณะประจ าพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวาย ส าหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้นักปรับปรุงพันธุ์พืช
                       นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องได้น าไปใช้ประโยชน์ในการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ หลักเกณฑ์และวิธีการ
                       ตรวจสอบลักษณะประจ าพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายฉบับใหม่ จะน าไปประกาศใช้เป็นระเบียบแทนฉบับเดิม
                       ต่อไป









                       __________________________________________
                       1/ ส านักคุ้มครองพันธุ์พืช




                                                          513
   526   527   528   529   530   531   532   533   534   535   536