Page 27 - sutthida
P. 27
ชีวิตของประชาชนดีขึ้น โดยสามารถวัดการพัฒนาเศรษฐกิจจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไป
กับความอยู่ดีกินดีของประชาชน ดังนี้
1. ดัชนีวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์
มวลรวมภายในประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รายได้ประชาชาติ เป็นต้น
2. ดัชนีวัดความอยู่ดีกินดีของประชาชนแสดงถึงระดับความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น อัตรา
การอ่านออกเขียนได้ อายุเฉลี่ยของประชากร อัตราการตายของทารก อัตราส่วนของแพทย์ต่อจ านวน
ประชากร เป็นต้น ทั้งนี้ดัชนีชีวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นดัชนีพื้นฐานเบื้องต้นที่จะสะท้อนภาพ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้
(1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)
เป็นตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะแสดงถึงความสามารถในการผลิตและ
การบริโภคของประเทศ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้ทรัพยากรภายในประเทศในรอบระยะเวลา 1 ปี
GDP : มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นโดยคนไทยและชาวต่างชาติโดยใช้ทรัพยากรของ
ประเทศไทย
(2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product : GNP)
แสดงถึง ความสามารถในการผลิต การบริโภคของคนไทยทั้งประเทศ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวม
ประชาชาติเป็นมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งผลิตขึ้นโดยคนไทยในประเทศและคนไทยใน
ต่างประเทศ
GNP :GDP + รายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตต่างประเทศ
(3) รายได้ประชาชาติ (National Income : NI)คือ มูลค่าของรายได้ที่
ประชาชน คนไทยในประเทศและคนไทยที่ไปท างานในต่างประเทศได้รับในช่วงระยะเวลา 1 ปีทั้งนี้
รายได้ประชาชาติค านวณจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หักด้วยภาษีทางอ้อมและค่าเสื่อมราคา
NI : GNP – (ภาษีทางอ้อม + ค่าเสื่อมราคา)
(4) รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล (Per Capita Income)ค านวณได้จากรายได้ประชาชาติ
หารด้วยจ านวนประชากร ซึ่งใช้เป็นดัชนีส าหรับเปรียบเทียบระดับความอยู่ดีกินดีของประชาชนของ
ประเทศต่าง ๆ
การวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของการวัดการพัฒนาเศรษฐกิจดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
ข้างต้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีแนวคิดการวัดความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National
Happiness : GNH) ขึ้น เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมามุ่งเน้นแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียง
อย่างเดียว จนละเลยความสุขซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ยังไม่มีดัชนี
วัดความสุขมวลรวมประชาชาติที่แน่นอนหรือชัดเจนในขณะนี้ แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความส าคัญ
กับความสุขของประชาชนมากกว่าการมุ่งเน้นแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ