Page 28 - sutthida
P. 28

ประเทศที่เป็นผู้น าเสนอแนวคิดการวัดความสุขมวลรวมประชาชาติ  (Gross  National  Happiness  :

                   GNH)  ขึ้นคือ  ประเทศภูฏาน  โดยมีหลักการส าคัญ  4  ประการ  คือ
                     1)  การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

                     2)  การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรม

                     3)  การรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
                     4)  การมีธรรมาภิบาล


                     แผนพัฒนำเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ

                     ความหมายและความเป็นมาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                                 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคือ  การก าหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและ
                   สังคมของประเทศ  เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  โดยการเข้ามามีส่วนร่วมของ

                   ประชาชนทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
                     ควำมเป็นมำของแผนพัฒนำเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ

                                 ประเทศไทยได้มีการริเริ่มจัดท าแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติมาตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2502  ในสมัย

                   รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์   โดยในปี พ.ศ. 2504  ได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรก
                   ขึ้น  ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีระยะเวลาของแผน  6  ปี  โดยที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ

                   และสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มา มีระยะเวลาของแผน  5  ปี หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดท า

                   แผน  คือ  ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  โดยปัจจุบันประเทศไทยก าลัง
                   อยู่ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11  (พ.ศ. 2555-2559)


               กำรพัฒนำประเทศตำมปรัชญำเศรษฐกิจพอเพียง

               ความหมายและความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

                     เศรษฐกิจพอเพียง  (Sufficiency  Economy) หมายถึง  การด าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยยึดหลัก
               ความพอดี  พอประมาณ  ซื่อตรง  ไม่โลภมาก  และไม่เบียดเบียนผู้อื่น  ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางหลักค าสอน

               ในพระพุทธศาสนา
               เศรษฐกิจพอเพียง  (Sufficiency  Economy)

                           เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชด าริชี้แนะแนวทางการด าเนินชีวิตแก่

               พสกนิกรชาวไทย  โดยมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม  ซึ่งมักจะ
               ประสบปัญหาความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ  ฝนตกไม่สม่ าเสมอ   เกิดภาวะแห้งแล้งทั่วไป  ท าให้การท า

               เกษตรกรรมไม่ได้ผลผลิตดีเท่าที่ควร  พระองค์จึงมีพระราชด าริที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว  และยกระดับพัฒนา

               ความเป็นอยู่ของราษฎรในภาคเกษตรกรรมให้เกิดความพออยู่พอกินและสามารถพึ่งพาตนเองได้
                           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัย  ค้นคว้า  ส ารวจ  รวบรวมข้อมูล  แล้วท าการ

               ทดสอบเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ า  ที่ดิน  พันธุ์พืช  เพื่อให้เกษตรกรสามารถด ารงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ของ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33