Page 43 - sutthida
P. 43

3. ปริมาณธุรกิจที่เพียงพอรองรับสหกรณ์ต้องมีรายจ่ายจากการด าเนินธุรกิจ รายจ่ายบางประเภทคงที่ไม่ว่าจะ

               ท าธุรกิจมากน้อยเท่าใด เช่น เงินเดือน ค่าสึกหรอ เป็นต้น ดังนั้น สหกรณ์จะต้องท าธุรกิจให้มากพอจนมีรายได้
               คุ้มกับรายจ่าย ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงต้องประมาณดูว่าสหกรณ์สมควรท าธุรกิจกับสมาชิกในด้านไหนมากน้อย

               เพียงใด ตลอดจนการโฆษณาเชิญชวนหรือชักชวนให้สมาชิกมาท าธุรกิจกับสหกรณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้

               4. ผู้จัดการสหกรณ์สหกรณ์ต้องท าธุรกิจ ต้องมีผู้รับผิดชอบการด าเนินงานและควบคุม กิจการของสหกรณ์
               อย่างใกล้ชิด ผู้จัดการสหกรณ์ต้องท างานให้สหกรณ์เต็มเวลา ควรมีประสบการณ์ ในการด าเนินธุรกิจ มี

               ความสามารถซื่อสัตย์ ขยันขันแข็ง และมีความรู้ในหลักการวิธีการสหกรณ์ ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงจ าเป็นต้อง
               พิจารณาคัดเลือกหาคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมมาปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์

               5. ความต้องการของกลุ่มบุคคลที่จะรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์จะต้องเป็นความต้องการที่แท้จริง ของกลุ่มบุคคลที่

               รวมตัวกันเป็นสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เขาเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขได้โดยล าพัง
               โดยสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว จะสามารถด าเนินกิจการต่อไปได้อย่างถูกต้อง มี

               ประสิทธิภาพ และตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มั่นคง
                    ปัญหำเศรษฐกิจในชุมชนและแนวทำงกำรแก้ไข

                    จากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาของไทยนั้นมุ่งเน้นแต่ความส าคัญของการการพัฒนาเศรษฐกิจ ท าให้

               ประเทศไทยต้องประสบปัญหาคือ เศรษฐกิจเจริญเติบโตไม่ยั่งยืนขาดความสมดุล ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง
               ฟุ่มเฟือย พึ่งมาปัจจัยภายนอกมากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาการพัฒนาศักยภาพของคนและการเสริมสร้างความ

               เข้มแข็งของชุมชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ต้องพึ่งพาสังคมภายนอกเป็นส าคัญ ซึ่งสามารถสรุปปัญหา

               เศรษฐกิจในชุมชนได้ดังต่อไปนี้
                   -  ปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ าทางรายได้

                   -  การบริการจัดการของชุมชนเพื่อน าไปสู่การพึ่งพาตนเองยังไม่เข้มแข็ง
                   -  การขาดแคลนวิทยากรทันสมัย (การผลิตยังพึ่งแรงงานคนและธรรมชาติ)

                   -  ปัญหาทางการศึกษาและการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้

                   แนวทำงกำรแก้ไขปัญหำและพัฒนำเศรษฐกิจของชุมชน
                   -  การน าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการด าเนินชีวิต

                   -  การเน้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชน
                   -  บูรณาการการท างานร่วมกันระหว่างท้องถิ่นกับชุมชน (เน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรณืปกครองส่วน

                       ท้องถิ่นกับชุมชน)

                   -  รวมกลุ่มกันสร้างงาน สร้างอาชีพ (สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน)
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48