Page 49 - sutthida
P. 49
เนื้อหำประกอบกำรเรียน
ผลกระทบที่เกิดจำกภำวะเศรษฐกิจ
ภำวะเงินเฟ้อ
หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการในตลาดสูง ค่าของเงินลดลง ปริมาณเงินอยู่ในมือประชาชนมากเกินไป
ประเภทของอัตรำเงินเฟ้อ
ตามหลักวิชาการจะแบ่งอัตราเงินเฟ้อเป็น 3 ประเภท คือ
1. เงินเฟ้ออย่ำงอ่อน คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อ
ภาวะเศรษฐกิจ ท าให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน
และรายได้ประชาชาติ
2.เงินเฟ้อปำนกลำง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 ~ 20 % รัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้
มาตรการทางการเงินและการคลัง
3. เงินเฟ้ออย่ำงรุนแรง คือ การที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยระดับ
ราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20 % ต่อปี ท าให้อ านาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก อย่างเช่นในสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมัน จีนและประเทศไทย ได้พิมพ์ธนบัตรออกใช้อย่างไม่มีขอบเขตจ ากัด จึงเกิดเงิน
เฟ้ออย่างรุนแรง
สำเหตุของเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อมีสาเหตุหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
1. เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น คือ ภาวะที่ปริมาณความต้องการในการซื้อสินค้าหรือบริการมีมากกว่า
ปริมาณความต้องการในการขายสินค้าหรือบริการท าให้ปริมาณสินค้าและบริการในตลาดขาดแคลน ไม่
เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
2. เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากระดับราคาวัตถุดิบที่น ามาใช้เป็นปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น หรือ
อัตราค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ท าให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เป็นเหตุให้ราคาสินค้าสูงตามไปด้วย
ผลกระทบของเงินเฟ้อ
เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อท าให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ราคาสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายในสินค้าที่จ าเป็นต่อการ
ด ารงชีวิตของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเพราะกลัวราคาสินค้าจะแพงขึ้นอีก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสินค้า ท าให้
ราคาสินค้ายิ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ภาวะเงินเฟ้อจะเกิดผลดีหรือผลเสียต่อบุคคลแต่ละกลุ่ม ดังนี้
1. ผลดีต่อพ่อค้า นักธุรกิจ เพราะขายสินค้าหรือบริการได้ราคาสูงขึ้น และส่งผลดีต่อลูกหนี้ เพราะเงินที่เป็นหนี้
มีอ านาจซื้อลดลง ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น จ านวนเงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง เท่ากับลูกหนี้ใช้หนี้น้อยลง แม้น
ว่าจ านวนเงินที่ช าระจะยังคงเท่าเดิม นอกจากนี้ภาวะเงินเฟ้อจะเกิดผลดีต่อกลุ่มบุคคลที่มีรายได้จากการ
เปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจ เพราะสามารถเรียกค่าบริการ หรือตั้งราคาสินค้าได้ตามต้องการ เช่น แพทย์
ช่างตัดผม ช่างตัดเสื้อ เป็นต้น
2. ผลเสียต่อผู้มีรายได้ประจ า เพราะรายได้เท่าเดิม แต่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ท าให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นด้วย เจ้าหนี้
และผู้มีเงินออมจะเสียเปรียบ เพราะมูลค่าของเงินลดลง เช่น สมชายมีเงินฝากอยู่ในธนาคาร หนึ่งแสนบาท