Page 125 - วิชาการการเขียนเพื่องานประชาสัมพันธ์
P. 125
115
2. ขั้นถ่ายท า (Production)
เป็นขั้นตอนลงมือถ่ายท าตามบทที่ก าหนดไว้ เป็นขั้นตอนการ
ปฏิบัติงานเทคนิคต่างๆ เช่น การบันทึกภาพ การก ากับรายการ การบันทึกเสียง
ขณะถ่ายท า
3. ขั้นหลังการถ่ายท า (Post-Production)
ขั้นหลังการถ่ายท าเป็นขั้นตอนของการตัดต่อและบันทึกเสียงหรือ
สร้างผลพิเศษทางภาพบางอย่างเพิ่มเติม เช่น การจางซ้อน (dissolve) การเลื่อน
เข้า-ออก (fade-in fade-out) หรือการซ้อนภาพ (superimpose) เป็นต้น ใน
ปัจจุบันนิยมสอดใส่เทคนิคการตัดต่อสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วย
สร้างความสวยงามน่าสนใจเพิ่มขึ้น ภายหลังจากการถ่ายท าเสร็จแล้วจ าเป็นต้อง
น ามาตัดต่อล าดับภาพและบันทึกเสียงเพื่อให้เป็นรายการวิทยุโทรทัศน์ที่มีความ
สมบูรณ์
4. การประเมินผล
เพื่อน าข้อมูลทีได้มาใช้ในการปรับปรุงรายการต่อไป
การเขียนบทโทรทัศน์(script) จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนแรก เป็นการ
เขียนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลิตรายการให้มีการประสานงานกันทุกๆฝ่ายไปใน
ทิศทางที่ตรงกัน โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการผลิตรายการโทรทัศน์ เช่น ช่าง
กล้อง ผู้ก ากับเวที ผู้ตัดต่อ ฯลฯ จะยึดแนวทางการท างาน จากบทโทรทัศน์ที่
ผู้รับผิดชอบรายการโทรทัศน์เขียนขึ้นจากเรื่องราวที่ต้องการเสนอนั้นน ามาเรียบ
เรียงให้เรื่องราวนั้นสามารถสื่อความหมายกับผู้ชมให้ออกมาในรูปของภาพที่
เคลื่อนไหวโดยมีเสียงประกอบ ดังนั้น การเขียนบทโทรทัศน์จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้
วิธีการถ่ายทอดและสื่อความหมายให้ชัดเจนกับทุกๆ ฝ่ายด้วย เพื่อให้การท างาน
การผลิตรายการออกมาตรงกับวัตถุประสงค์ของการถ่ายท ารายการ