Page 8 - หลักและวิธีการรายงานการรับ-ส่งเวรด้วยเทคนิค SBAR
P. 8
หลักและวิธีการรายงานการรับส่งเวรด้วยเทคนิค SBAR
ชื่อผู้ป่วย ห้องหรือเตียง เหตุผลที่ทําให้เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาล
ซึ่งเป็นข้อมูลผู้ป่วยที่บอกเล่าให้รับทราบ วินิจฉัยทางการพยาบาล การ
ปฏิบัติหรืออาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย รวมทั้งข้อมูลจากการ
บันทึกอาการแสดงที่สําคัญ ปัญหาและความต้องการระยะเวลาที่ให้การ
พยาบาล ความสําเร็จในการให้การแนะนํา สภาวะอารมณ์ของผู้ป่วย
ปฏิกิริยาครอบครัวของผู้ป่วย ระดับของการเจ็บปวด ข้อมูลด้านการ
บริหารจัดการภายในแผนกผู้ป่วยที่จําเป็น
2) การให้ข้อมูลถูกสถานที่ (The right place) โดยสถานที่ที่ทําการ
การส่งเวร ควรมีลักษณะเป็นส่วนตัว ปราศจากการรบกวนจากญาติ
3) วิธีการส่งเวรถูกต้อง (The right method) เช่น การใช้บันทึก
เทปในกรณีที่มีผู้ป่วยจํานวนมาก โดยสรุปข้อมูลและปัญหาสําคัญของ
ผู้ป่วยแต่ละเตียง โดยที่ผู้รับเวรจะไม่สามารถถามแทรกขึ้นมาได้จนกว่าจะ
ฟังข้อมูลจนจบ วิธีนี้มีความน่าเชื่อถือและเป็นระบบกว่าการส่งเวรแบบ
เผชิญหน้า เพราะจะช่วยลดระยะเวลาในการส่งเวรได้มากกว่าวิธีรายงาน
แบบบุคคลต่อบุคคล แต่วิธีนี้ไม่มีผู้นิยมนํามาใช้ เพราะการฟังเทปไม่
สามารถซักถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซึ่งเรานิยมนําวิธีการรายงานแบบ
เผชิญหน้ามาใช้ในการรับส่งเวรมากกว่า เพราะสามารถพูดคุย สื่อสาร
โต้ตอบข้อซักถามกันแบบสองทางได้ โดยฉพาะในการตรวจเยี่ยมอาการ
ทางคลินิกการรายงานการตอบสนองของผู้ป่วย เช่น การตรวจเยี่ยมข้าง
เตียง เมื่อมีผู้ป่วยต้องทําหัตถการพิเศษ เช่น การทําแผล ผู้ส่งเวรจะ
อธิบายขั้นตอนและวิธีการพร้อมๆกัน ผู้รับเวรเห็นสภาพของผู้ป่วยจะทํา
ให้ใช้เวลาน้อยกว่าบรรยายโดยผู้รับเวรนึกสภาพผู้ป่วยไม่ออก
5