Page 14 - รายงานผลการดำเนินการหมู่บ้านศีล 5 ดอนมะสัง.
P. 14
1.9.1 พระครูโพธาภิรัต (หลวงพ่อโต๊ะ)
อดีตเจ้าอาวาสวัดสองเขตสามัคคี ผู้เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน
เรียบเรียงโดย พระครูสุวรรณคณารักษ์
จากหนังสืออนุสรณ์ เนื่องในงานพระราชทานเพลิง พระครูโพธาภิรัตน์ 15 ธันวาคม 2516
พระครูโพธาภิรัต (โต๊ะ ชินปุตฺโต) ชาติภูมิบ้านชีปะขาว ตำบลป่าพฤกษ์
อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีเกิดเมื่อ พ. ศ. 2427 บิดาชื่อนายจวง มารดา
ชื่อนางเผื่อน บุญศิริ เมื่อโตจนอายุครบบวช ทำการอุปสมบทที่วัดสำปะซิว ตำบล
พิหารแดง อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อราว พ.ศ. 2444 หลวงพ่อโต๊ะ
จำพรรษาอยู่ที่วัดสำปะซิวเรื่อยมา จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสำ
ปะซิวหลวง
พ่ออุปสมบทแล้วทำการศึกษาพระธรรมวินัย และเรียนมูลกัจจายน์ ตาม
วิธีการศึกษาสมัยโน้นจนมีความรู้แตกฉาน หากแต่หลวงพ่อมิได้ทำการสอบธรรม
สนามหลวงในขณะนั้น แต่ต่อมาได้เรียนนักธรรมโทที่สำนักวัดสุวรรณภูมิ ในด้าน
วิปัสสนาธุระหลวงพ่อมีความเชี่ยวชาญมาก ในคราวที่หลวงพ่อแต้ม ปุญฺญสุวณฺโณ
(พระครูประภัศธรรมาภรณ์) มาขอนิสัยเพื่ออุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลวงพ่อโต๊ะเป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทเสร็จแล้วให้มาอยู่กุฏิเดียวกับหลวงพ่อ ความไม่สงบในจิตใจของหลวงพ่อแต้มมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะ
ขณะเป็นฆราวาสประพฤติตนเป็นคนเกเร นักเลงหัวไม้ ชอบตีรันฟันแทง จากบ้านที่เคยอยู่จากอู่ที่เคยนอนตระเวนไป
หลายจังหวัด บิดามารดาจับตัวเอามาอุปสมบท ฝากฝังให้หลวงพ่อโต๊ะเป็นผู้สั่งสอน
จากความสามารถในวิปัสสนาธุระ หลวงพ่อโต๊ะใช้ทางด้านจิตวิทยาและความพากเพียร ดัดความประพฤติ
ของหลวงพ่อแต้ม ซึ่งมีจิตใจแข็งกร้าวปานเหล็กค่อยๆอ่อนเป็นขี้ผึ้งด้วยการชักจูงต่างๆนานา เช่นพาเข้าไปในป่าช้าวัด
สำปะซิวในเวลากลางคืน ซึ่งขณะนั้นสภาพของป่าช้าวัดสำปะซิวเป็นป่ารกดงดิบ พระจันทร์ส่องแสงกระจ่าง หลวงพ่อ
โต๊ะแนะให้หลวงพ่อแช่มเอากระดูกผีซึ่งกองยุคขาวโพลนท่ามกลางแสงจันทร์มานับดู แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นแยกกอง
กระดูกเล็ก กลาง ใหญ่ ทำอยู่เช่นนั้นเป็นเวลานานจนจิตใจของหลวงพ่อแต้มเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่
เพียงเท่านั้น ยังช่วยสอนหนังสือให้กับหลวงพ่อแต้ม จนกระทั่งหลวงพ่อแต้มอ่านหนังสือได้คล่องแคล่วทั้งไทยและขอม
และเป็นคนที่ดีได้ในที่สุด
จะเห็นได้ว่า หลวงพ่อโต๊ะเป็นบุคคลที่มีจิตวิทยาสูง
มีความรู้ความสามารถผู้หนึ่งในด้านพระธรรมวินัยและวิปัสสนา
ธุระ ต่อมาหลวงพ่อได้ลาสิกขาเป็นเพศฆราวาส ครองเรือนอยู่กับ
ภรรยาที่บ้านเหนือวัดสำปะซิว จนภรรยาตั้งครรภ์คลอดบุตรออก
มาถึงแก่กรรม จากความไม่เที่ยงนี้เองทำให้หลวงพ่อโต๊ะหันหน้า
เข้าสู่แสงธรรมของบวรพุทธศาสนาอีกเป็นรอบที่ 2 ณ วัด
สุวรรณภูมิ (วัดใหม่) ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัด
สุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2458 โดยมีพระครูสัทธานุสาลีเป็นพระ
อุปัชฌาย์ หลวงพ่อขาว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระใบฎีกา
เปลื้อง (หลวงพ่อเปลื้อง หรือพระราชสุพรรณนาภรณ์) เป็นพระ
อนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดสุวรรณภูมิ
เรื่อยมา
๑๔