Page 15 - รายงานผลการดำเนินการหมู่บ้านศีล 5 ดอนมะสัง.
P. 15
หลวงพ่อโต๊ะมีความนึกคิดสูง มองเห็นการณ์ไกลว่าการศึกษาเท่านั้นที่จะช่วยให้คนเป็นคนดี เป็นพลเมืองดี
ของชาติบ้านเมือง จึงพยายามอย่างยิ่งที่จะจัดตั้งโรงเรียนสอนพระธรรมวินัยขึ้น เรียกในสมัยนั้นว่าโรงเรียนนักธรรม
จนกระทั่งหลวงพ่อโต๊ะได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุวรรณภูมิ เนื่องด้วยพระอุปัชฌาย์และหลวงพ่อขาวถึงแก่การ
มรณภาพ ส่วนหลวงพ่อเปลื้องลาสิกขาบทครองเรือนอยู่ใต้วัดสุวรรณภูมิ ทำให้ความปรารถนาดั้งเดิมของหลวงพ่อโต๊ะ
หวนกลับมาอีกครั้ง จึงปรึกษาหารือกับพระเกลี้ยง กลิ่นคำหอม ว่าจังหวัดอื่นเขามีโรงเรียนพระธรรมวินัย จังหวัด
สุพรรณบุรีก็น่าจะมีบ้าง จึงชวนกันไปที่วัดชายทุ่ง บ้านโคกหม้อ ตำบลท่าระหัด อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี
หารือกับหลวงตาคต ซึ่งถือธรรมยุติกนิกาย หลวงตาคดรับปากว่าจะช่วยเป็นธุระจัดการให้ และแล้วหลวงพ่อโต๊ะไปหา
พระครูวิบูลศีลวัตร (หลวงพ่อยา) วัดลาดหอย เจ้าคณะอำเภอบางปลาม้า ซึ่งก็มีความประสงค์จะได้ครูสอนพระธรรม
วินัยเช่นกัน
จากนั้นหลวงพ่อโต๊ะ หลวงตาคต และพระเกลี้ยง ได้แจวเรือไปยังวัดสัมปะทวน จังหวัดนครปฐม เรียนความ
ประสงค์ให้พระครูสุทธิสุนทร กรรมการสงฆ์ระดับมณฑลทราบ ในราวเดือนมิถุนายน (เดือน 7) พ.ศ. 2463 จึงได้ครู
มา 2 รูป คือ พระมหาสำเภา ป.ธ. 5 สอนที่วัดสุวรรณภูมิ และพระมหาเชย ป.ธ. 5 สอนที่วัดลาดหอย ครูทั้ง 2 รูป
มาจากสำนักวัดมหาธาตุด้วยกันทั้งคู่ โดยหลวงพ่อเปลื้องซึ่งขณะนั้นลาสิกขาบทได้เอารถมาไปรับที่ท่าเรือบางปลาม้า
และจวนจะเข้าพรรษาปีนั้นหลวงพ่อเปลื้อง กลับเข้าอุปสมบทอีกครั้ง เนื่องด้วยภรรยาถึงแก่กรรม โดยหลวงพ่อโต๊ะ
เป็นคู่สวดให้ เมื่อได้ครูมาแล้วเริ่มตั้งโรงเรียนสอนพระธรรมวินัยขึ้น ในปีรุ่งขึ้น ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้ถือว่าเป็นโรงเรียน
สอนพระธรรมวินัยแห่งแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี
หลวงพ่อโต๊ะได้มีสมณศักดิ์ที่ พระครูโพธาภิรัต เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองฯ และเป็นพระอุปัชฌายะ ย้ายจาก
วัดสุวรรณภูมิไปเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อราว พ.ศ. 2480
จิตใจของหลวงพ่อโต๊ะ มุ่งในด้านการศึกษาชนิดฝังจิตฝังใจ ไปอยู่ไหนก็พยายามสร้างสถานศึกษา ไม่โรงเรียนพระ
ธรรมวินัย ก็โรงเรียนประชาบาล เมื่อมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ เริ่มทำการปรับปรุงสถานที่
ปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น และดำริสร้างโรงเรียนประชาบาลเพื่อให้ลูกหลานชาวบ้านวัดป่าเลไลยก์
ได้ร่ำเรียนศึกษา แต่เกิดไปขัดกับมติของชาวบ้าน ที่ไม่อยากจะให้มีโรงเรียนประชาบาล หลวงพ่อโต๊ะจึงขอ
พระราชทานพระบรมราชานุญาต ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ พร้อมกับลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะ
อำเภอ ไปจำพรรษายังวัดในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีหลายวัด แต่ไม่ทราบได้ว่าเป็นวัดไหนบ้าง
ต่อมาหลวงพ่อโต๊ะได้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดตาล ตำบลดอน
มะสังข์ อำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดสองเขตสามัคคี
เพราะเหตุว่าเป็นวัดชายแดนระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรีกับจังหวัดอ่างทองมีเพียง
แม่น้ำหรือคลองเก่าๆ ขวางกั้นอยู่เท่านั้น การตั้งชื่อวัดดังกล่าวแล้วมีความหมาย
ในทางจิตวิทยามาก ทำให้ชาวบ้านสองจังหวัดมีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียว
กันดีโดยยึดวัดสองเขตสามัคคีเป็นที่พักใจ และยกหลวงพ่อโต๊ะเป็นที่ตั้ง
อีกนั่นแหละเมื่อหลวงพ่อโต๊ะมาอยู่ที่วัดลาดตาล หลวงพ่อพยายามนัก
พยายามหนา ที่จะสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นให้ได้ แต่แล้วก็สำเร็จสมประสงค์
เมื่อปี พ.ศ. 2511 ในชีวิตของหลวงพ่อโต๊ะเป็นประธานในการสร้างพระอุโบสถ
ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง นับว่าหลวงพ่อบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่บวรพุทธ
ศาสนาและการศึกษาไม่น้อยทีเดียว
หลวงพ่อโต๊ะได้สร้างสิ่งที่ระลึกไว้ เช่น เหรียญรูปหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าเล
ไลยก์ และปี พ.ศ. 2512 ทำบุญฉลองอายุ 90 ปี สร้างเหรียญเป็นรูปเสมาเนื้ออัลปาก้าขาว จำนวน 100 เหรียญ
๑๕