Page 110 - หนังสืออนุทิน พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ. ๙) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี, ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา.
P. 110
ส�าคัญส�าหรับข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าได้ปรารภต่อว่า บ้านระฆังหรือดอนระฆัง
ปรากฏชื่อในสงครามสยามพม่ายุทธ์ แต่ไม่รู้ว่า “โคกเผาข้าวหรือ
ดอนเผาข้าว” อยู่ที่ไหน? ข้าพเจ้าเคยถามก�านันอ�านวย ฉิมพันธ์ ก็ชี้ไม่ถูก
บอกว่าเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน
พระสมุห์ไสว บอกว่า พ่อคุณรอด สามทอง เคยบอกว่า
โคกเผาข้าวอยู่ที่ดอนเจดีย์ แถวอนุสรณ์ตรงนั้นแหละ พ่อคุณรอด
เคยไปมา เดิมเรียกว่า “ทุ่งเผาข้าว เผาอิฐ” เขาเผาอิฐไปท�าเจดีย์กัน
มีเจดีย์ที่มีพระทองค�าด้วย มีต้นตะคองปกคลุมอยู่ที่นั่น โยมพ่อ
คุณรอด สามทอง (นามสกุล “สามทอง” เป็นคนเชื้อสายเขมร) เล่าเรื่อง
ให้ฟังอีกว่า เดิมดอนเจดีย์ไม่ได้ชื่อหนองสาหร่าย แต่ชื่อว่า “หนองไส้ไหล”
รบกันจนเลือดอาบและไส้ไหลออกมา ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น “หนอง
สาหร่าย” เคยเป็นสนามรบ ซึ่งตาถึก ท่านจ�านามสกุลไม่ได้ คนตะวันตก
วัดอินทร์เกษม เคยเล่าให้ฟังเรื่องนี้
นอกจากนี้ ข้าพเจ้าก็สอบถามว่า หลวงพ่อฑูรย์ หรือพระโพธิวรคุณ
หรือพระโพธิสังวรเถร ที่เรียกกันว่าหลวงพ่อโพ หรือเจ้าคุณโพ
(๓๑ ก.ค. ๒๔๕๓ - ๒๕ พ.ค. ๒๕๓๕ อายุ ๘๒ ปี) แซ่อะไร ก่อนมาใช้
นามสกุล?
พระสมุห์ไสว ชุ่มทอง วัย ๗๔ ปี ท�าท่านึกอยู่นาน แต่นึกไม่ออก
แต่บอกว่า เตี่ยท่านเป็นจีนนอกชื่อตาเกีย มากับยายไม้พี่และยายม่วย
น้อง, ตาเกียมาได้กับยายฉัตร คนเขมร แต่ผมจ�าแซ่เดิมท่านไม่ได้
จ�าได้แต่นามสกุลว่า “รัตนวราภรณ์” แต่คนเก่าๆ จะเรียกเจ้าคุณโพว่า
พระสมุห์ฮง หรือพระกิมฮง เจ้าอาวาสวัดโพธินิมิตร
จากดอนระฆัง ถึงโคกเผาข้าว ข้อมูลภูมิศาสตร์ จากค�าบอกเล่า
จากรุ่นสู่รุ่น บันทึกไว้เป็นเบาะแสไว้ในการค้นหาค�าตอบต่อไป บ้านระฆัง
108 อนุทินประจ�ำวัน