Page 423 - หนังสืออนุทิน พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ. ๙) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี, ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา.
P. 423
ชื่อปู่ย่าตายายยังไม่ทันจบดี ก็อยากจะสัมภาษณ์ต่ออีก จับประเด็น
ได้ว่า เธอมีสามีชื่อ นายวิเชียร ศรีบุญเพ็ง ที่มีบรรพบุรุษเป็นญาติกับ
นายชม ศรีบุญเพ็ง
ได้สัมภาษณ์โยมป้อ จามะรี (เกิดปีกุน ๒๔๗๘) อายุ ๘๓ ปีว่า
เป็นพี่น้องกับนางขิ้ง ศรีบุญเพ็ง (จามะรี) ว่าท้องของพ่อคุณคาน-
แม่คุณสิ่ง จามะรี มีลูก คือ (๑) ตาสิงห์ จามะรี (๒) แม่ขิ้ง ศรีบุญเพ็ง
(๒๔๖๖-๒๕๔๓) (๓) ยายทา (๔) ยายยา (๕) ยายลา ท�าจะดี แต่งกับตาที
ท�าจะดี (๖) ตาเบี้ยว จามะรี แต่กลับใช้ “ศรีบุญเพ็ง” เป็นตาเบี้ยว
ศรีบุญเพ็ง, (๗) นางป้อ จามะรี (เกิดกุน ๒๔๗๘)
จึงซักถามว่า เรียกผู้วายชมน์คือนายห้อย ศรีบุญเพ็งว่าอะไร,
นางป้อบอกว่า เรียกว่า น้าห้อย, ส่วนเจ้าคุณพระราชวิสุทธิเวที
(นิกร ป.ธ.๙) ก็บอกว่า โยมห้อยเป็นมรรคนายกวัดจ�าปา กับท่านนั้น
เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน คือย่าของโยมห้อยชื่อย่าปัทมา ศรีบุญเพ็ง
ไม่รู้ว่าแต่งกับใคร และย่าของท่านชื่อย่าสุก ศรีบุญเพ็ง (ภรรยาของปู่อยู่
ศรีบุญเพ็ง) เป็นพี่น้องกัน และอธิบายว่าเป็นญาติกันทั้งหมู่บ้าน
พันกันไปกันมา ล�าดับไม่ถูก
สรุปว่า นามสกุลเดียวกัน ก็ต้องเป็นญาติกัน อย่างน้าเบี้ยว
ลูกพ่อคุณคาน แม่คุณสิ่ง จามะรี แทนที่จะใช้นามสกุล “จามะรี”
ก็ยังดันมาใช้ “ศรีบุญเพ็ง” ข้ามห้วยมาอย่างไรไม่ทราบ
นั่นคือ ชุมชนคนบ้านโข้ง จร้าเก่า ที่เรียกว่า วัดจ�าปา ท�าให้นึกถึง
เพลงประจ�าชาติลาวขึ้นมาทันที ชื่อว่าเพลง โอ้..เจ้าดอกจ�าปา...
อนุทินประจ�ำวัน 421