Page 64 - ปทุมวัน
P. 64
56
กกกกกกก3. การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์
เมื่อผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษาแล้ว ผู้ศึกษาต้องไต่สวน
หลักฐานแต่ละชิ้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุด ด้วยการประเมิน
ภายนอกและประเมินภายใน
การประเมินภายนอก หมายถึง การประเมินผู้บันทึกหลักฐาน และตัวหลักฐาน
เนื่องจากหลักฐานมีหลายประเภท และหลายลักษณะ เช่น หลักฐานชั้นต้น หรือหลักฐานปฐมภูมิ ซึ่ง
เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น หรือเกิดจากบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
นั้น ๆ และหลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ ซึ่งเป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์หรือจาก
ผู้ที่ไม่มีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ แต่ได้ศึกษาค้นคว้ารวบรวมขึ้นในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีหลักฐาน
โบราณคดี เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์โบราณ ศิลาจารึก วรรณกรรมโบราณ ซึ่ง
จ าเป็นต้องอาศัยผู้ เชียวชาญ เฉพาะด้าน เช่น นักโบราณคดี นักภาษาศาสตร์ เป็นผู้ วิเคราะห์และ
ประเมินหลักฐานดังกล่าว
การประเมินภายใน หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐาน
กับข้อมูล จากหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ ว่าสอดคล้องกันหรือแตกต่างกันหรือไม่ ถ้าพบความแตกต่าง
ต้องสืบค้นว่าเป็นเพราะสาเหตุใด ทั้งนี้อาจเกิดจากความผิดพลาดในระบบการพิมพ์ หรือเกิดจากอคติ
ของผู้จัดท าหลักฐาน หรือความไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง
กกกกกกก4. การคัดเลือก และประเมินข้อมูล
การคัดเลือก และประเมินข้อมูล เป็นขั้นตอนของการน าข้อเท็จจริงที่ผ่านการ
วิเคราะห์ การตีความ และการประเมินหลักฐานแต่ละชิ้นมาประมวลหรือเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่อให้
วิเคราะห์ การตีความ และการประเมินหลักฐานแต่ละชิ้นมาประมวล หรือเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่อให้
ได้ข้อเท็จจริงที่สามารถอธิบายประเด็นศึกษาที่ตั้งไว้ในข้อ 1 การสรุปข้อเท็จจริงนั้นผู้ศึกษาต้อง
รวบรวมจากหลักฐานที่หลากหลาย พยายามเข้าใจความคิดของผู้คนในยุคนั้น ไม่ใช่น าค่านิยมของ
ตนเองไปตัดสินพฤติกรรมของคนในอดีต
กกกกกกก5. การเขียนเรียบเรียงรายงานข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
การเขียนเรียบเรียงรายงานข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาสามารถสรุป
สาเหตุ และเหตุผลที่ท าให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตเรียบเรียงข้อเท็จจริงที่ค้นพบได้ด้วยภาษาที่
เข้าใจง่าย มีความต่อเนื่องเป็นเหตุเป็นผลกัน วิธีการน าเสนอที่เหมาะสม เช่น การเรียงล าดับ
เหตุการณ์ ก่อน-หลัง เพื่อให้เข้าใจง่ายมีการวิเคราะห์ และสรุปประเด็นให้ชัดเจน นอกจากนี้เมื่อมีการ
อ้างอิงหลักฐาน ผู้ศึกษาจะต้องบอกที่มาของหลักฐาน หรือแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถ
ตรวจสอบได้