Page 19 - Pathum Wan1
P. 19
12
ชั้นสูงกว่าเทวดา มีการวนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม พระพรหมในพุทธศาสนา
เป็น พระพรหมผู้วิเศษ ล้วนแต่บุรุษเพศทั้งสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร และในคติพระพรหม
ของพราหมณ์-ฮินดู พระเจ้าผู้สร้างและลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้ก าหนดชะตาชีวิตของ
มนุษย์ทุกคน พระพรหมจึงเป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของสรรพชีวิต เหตุการณ์ส าคัญของโลกล้วนอยู่ใน
สายตาของพระพรหม
เรื่องที่ 3 คติความเชื่อ และความศรัทธาที่มีต่อ ท้าวมหาพรหมของคนไทย
ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต
ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า “พรหมลิขิต” และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็น
นิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า “พรพรหม” หรือ “พรหมพร” และยังเป็นเทพประจ า
ทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ เช่น “พรหมธาดา” หรือ
“ประชาบดี” (ผู้สร้าง) “หงสรถ” หรือ “หงสวาหน” (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ) “จตุรพักตร์” (ผู้มีสี่หน้า)
“ปรเมษฐ์” (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น
ในทางคติเถรวาท พระพรหมไม่มีเพศ ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิ
อื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องขับถ่ายคูตรมูถ สถิตยเสวยสุขพรหม
สมบัติอยู่ ณ พรหมภูมิที่ตนอุบัติตราบจน กว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน
ในทางคติมหายาน นับถือพระพรหมในฐานะธรรมบาล ซึ่งปรากฏอยู่ในพระสูตรต่าง ๆ ที่
ส าคัญ และถือเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง
พระพรหมที่ส าคัญ
พระนาม บทบาทที่ส าคัญและเกี่ยวข้องในคติพระพุทธศาสนาและความเชื่อของไทย
ค าเรียกรวมส าหรับพระพรหมทั้งหมดในคติพระพุทธศาสนาหรือเรียกประมุข
ท้าวมหาพรหม
ของชาวสวรรค์ชั้นพรหมภูมิ
ผู้เป็นอธิบดีของโลกและเป็นผู้อาธนาธรรมหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าทรงพิจารณาบัวสามเหล่า และเป็นต้นก าเนิดของค าอาธนาธรรม
ท้าวสหัมบดีพรหม
เป็นค าเรียกพระพรหมในศาสนาฮินดู ซึ่งนับถือว่าเป็นพระผู้สร้างโลกและ
จักรวาล และมีเพียงพระองค์เดียว
พระพรหมา
พระพรหมผู้ที่พระโคตมพุทธเจ้าเสด็จไปปราบความคิดอันเป็นมิจฉาทิฏฐิและ
เป็นที่มาของพระคาถาพาหุงบทที่แปด
ท้าวพกพรหม
พระพรหมผู้เป็นที่มาของเทศกาลสงกรานต์ ในชาดกท้องถิ่นของประเทศ
ไทย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชาเป็นผู้พนันธรรมกุมารและเป็นพระบิดาของ
ท้าวกบิลพรหม
นางสงกรานต์ทั้งเจ็ดองค์
เป็นเทวรูปพระพรหม ประดิษฐานหน้าโรงแรมแกรนด์ ไฮแอ ท
ท้าวมหาพรหมเอราวัณ เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชด าริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร จึงท าให้ท้าวมหาพรหมองค์นี้ได้นามว่า ท้าวมหาพรหม