Page 25 - Pathum Wan1
P. 25
20
ได้มอบให้พลต ารวจตรี หม่อมหลวงจเร สุทัศน์ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง หาวิธีการคลี่คลายและ
แก้ปัญหาโดยเร็ว ด้วยการขอความช่วยเหลือจาก พลเรือตรี หลวงสุวิชานแพทย์ หรือหลวงสุวิชาน
แพทย์ ที่เชื่อกันว่าผู้มีญาณพิเศษ ที่เรียกว่า พุทธญาณบารมี อันได้แก่ มีทิพยจักษุ มีหูทิพย์ และ มี
อ านาจจิต เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์อันมิชอบ ตลอดจนอาเพศต่าง ๆ
ซึ่งหลวงสุวิชานแพทย์ ได้แนะน าให้ขจัดแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลาย และความเป็นสิริมงคล คือ
การตั้งชื่อ โรงแรมเอราวัณ ยังไม่ถูกต้องเพราะค านี้เป็นชื่อของช้างทรงพระอินทร์ ให้แก้ด้วยการขอ
อนุญาตจากพระพรหม ในการที่จะตั้งใช้ชื่อ โรงแรมเอราวัณ ก่อนเป็นล าดับแรก และต้องตั้งศาลถวาย
แด่ พระมหาพรหม ในที่อันเหมาะสม
การด าเนินการครั้งนี้ ได้ก าหนดผังบริเวณต าแหน่งที่จะตั้งศาล บริเวณด้านหน้าของโรงแรม
สี่แยกราชประสงค์ ในการสร้างรูปหล่อจ าลองนั้น นายจิตร พิมพ์โกวิท ช่างชั้น 2 หรือ ช่างโท กองหัต
ถศิลปะ (กองประณีตศิลปกรรมเดิม) กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ โดยการค้นคว้า ของพระยา
อนุมานราชธน นายชิ้น ชื่นประสิทธิ์ เป็นผู้ปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์ และลงรักปิดทอง ส่วนตัวศาล
หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล และนายเจือระวี ชมเสวี นายช่างจากโรงงานยาสูบเป็นผู้ออกแบบตัวศาล
เมื่อสร้างศาลเสร็จแล้วได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระมหาพรหมประทับโดย หลวงสุวิชานแพทย์
ให้ค าแนะน า มอบหมายให้ นายประยูร วงศ์ผดุง เป็นผู้จัดเครื่องพิธีการทั้งหมด พลต ารวจเอกเผ่า
ศรียานนท์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติอื่น ๆ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
จากนั้นได้ก าหนดให้ทุกวันที่ 9 พฤศจิกายน ทุกปี เป็นวันท าพิธีบวงสรวงพระมหาพรหม และ
เทวสถานมาโดยตลอด ตราบจนในปัจจุบัน ท้าวมหาพรหมบรมเทพเขตปทุมวันโดยทั่วไปประชาชน
เรียกว่า พระพรหมเอราวัณ
กกกกกกกในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 ได้ มีคนร้ายใช้ค้อนทุบท าลายองค์พระมหาพรหม ช ารุด
เสียหาย เหลือเฉพาะ ส่วนของพระพักตร์และพระพาหาซ้าย – ขวา ทั้ง 8 ช ารุดเสียหายน้อยที่สุด
ส านักช่างสิบหมู่ จึงได้บูรณะซ่อมให้คงสภาพตามเดิม