Page 11 - ฟิสิกส์นิวเคลียร์
P. 11

6



               โครงสร้างของนิวเคลียส

               ภายในอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสและอิเล็กตรอน ซึ่งภายในนิวเคลียสมีอนุภาคหลักอยู่ 2 ชนิดคือ โปรตอน
               และนิวตรอน





               โดยอนุภาคทั้งสามในอะตอมเป็นดังนี้

               1. โปรตอน มีประจุบวก โดยขนาดของประจุเท่ากับ 1.6×10-19 C และโดยมีมวลนิ่ง 1.67252 x 10-27 kg

               หรือมีค่าเท่ากับ 1.007277 u สัญลักษณ์ของโปรตอนแทนด้วย


               2. นิวตรอน มีอนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ไม่มีประจุ และโดยมีมวลนิ่ง 1.67482 x 10-27 kg หรือมีค่า


               เท่ากับ 1.008665 u สัญลักษณ์ของนิวตรอนแทนด้วย


               3. อิเล็กตรอน มีประจุลบ โดยขนาดของประจุเท่ากับ 1.6×10-19 C และโดยมีมวลนิ่ง 9.1×10-31 kg หรือมีค่า

               เท่ากับ 0.000548 u สัญลักษณ์ของอิเล็กตรอนแทนด้วย







               การค้นพบนิวตรอน

               จากแนวคิดของรัทเธอร์ฟอร์ดที่เสนอว่า นิวเคลียส น่าจะประกอบด้วย โปรตอนและนิวตรอน โดยนิวตรอนเป็น

               อนุภาคที่เกิดจากการรวมตัวกันของโปรตอนและอิเล็กตรอน  อนุภาคนิวตรอนจะเป็นกลางทางไฟฟ้า การค้นหา
               ว่ามีอนุภาคนิวตรอนนั้นเป็นเรื่องที่ท าได้ยากมาก  เพราะการทดสอบส่วนใหญ่มักจะทดสอบด้วยสนามแม่เหล็ก

               และสนามไฟฟ้า  ส่วนอนุภาคนิวตรอนไม่มีประจุย่อมไม่เบี่ยงเบนในสนามทั้งสอง

               หลังจากมีการพยายาม พบว่ามีการทดลองหนึ่ง คือยิงอนุภาคแอลฟาไปที่อะตอมของเบริลเลียม จะมีปลดปล่อย
               รังสีหนึ่งออกมามีสมบัติคล้ายรังสีแกมมา เพราะเป็นกลางทางไฟฟ้า  สามารถทะลุทะลวงในวัตถุได้ดี  แต่เมื่อ

               ทดสอบในเรื่องพลังงาน พบว่ารังสีมีพลังงานมากกว่ารังสีแกมมา

               แชดวิค เป็นคนที่ทดลองและสรุปการชนของรังสีนี้ชนกับพาราฟินเปรียบเทียบกับให้รังสีแกมมาชนพาราฟิน
               แล้วตรวจสอบความเร็ว พบว่าการชนของรังสีที่สงสัยกับพาราฟินเป็นการชนของอนุภาคชนกับอนุภาค จึง

               สรุปว่า  รังสีนี้ คือ อนุภาคนิวตรอน  ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวคิดของรัทเธอร์ฟอร์ด ที่ว่าอนุภาคนิวตรอน
               เป็นอนุภาคที่เป็นกลางที่อยู่ในนิวเคลียส
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16