Page 104 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
P. 104
การพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
การสร้างกฎระเบียบและวินัยของบุคลากรในองค์กรเป็นเรื่องส าคัญ การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็น
หนทางให้ใช้งานได้สะดวก แต่ก็เป็นเส้นทางที่ผู้แปลกปลอมจะใช้เป็นทางเข้าเพื่อเจาะเครือข่ายในองค์กรได้
ง่ายด้วยเช่นเดียวกัน
ความหมายของระบบรักษาความปลอดภัย (Computer Security System) (sites.google, ม.ป.ป.,
[ออนไลน์])
ระบบที่มีไว้เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากผู้ที่ประสงค์ร้ายต่อธุรกิจข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรหรือ
ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลทั่วไปที่องค์กรนั้นมีอยู่รวมไปถึงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจากผู้ที่ต้องการ
คุกคามผู้ใช้คอมพิวเตอร์บนโลกอินเตอร์เน็ตหรือจากระบบรักษาความปลอดภัยในเครื่องคอมพิวเตอร์เอง
ประโยชน์และข้อจ ากัดของระบบรักษาความปลอดภัย (sites.google, ม.ป.ป., [ออนไลน์])
ประโยชน์
1. ป้องกันบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีเข้ามาท าลายข้อมูลภายในระบบคอมพิวเตอร์ด้วยรูปแบบต่าง ๆ
กันไป ไม่ว่าจะเป็นการส่งไวรัสเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีผลท าให้ข้อมูลต่าง ๆที่มีอยู่นั้นเกิดความเสียหาย
หรือการโจรกรรมข้อมูลที่เป็นความลับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น
2. เพิ่มความสามารถในการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบคอมพิวเตอร์ของตนให้มากขึ้น
ข้อจ ากัด
1. ระบบรักษาความปลอดภัยจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ update โปรแกรมของระบบอยู่เสมอ
เพราะ hacker จะมีการพัฒนา และสร้างไวรัสตัวใหม่อยู่เป็นประจ า
2. จากการที่มีไวรัสในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากเป็นเหตุให้เราต้องลดการ load ข้อมูล รูปภาพ
จากอินเตอร์เน็ต และต้องไปหาข้อมูลจากแหล่งการศึกษาอื่นแทน เช่น ห้องสมุด หนังสือพิมพ์ วารสาร
โปสเตอร์ เป็นต้น
บทบาทของระบบรักษาความปลอดภัยบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (sites.google, ม.ป.ป., [ออนไลน์])
บทบาทของระบบรักษาความปลอดภัยบนเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ ป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดี และ
บุคคลภายนอก เข้ามาท าอันตรายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ การรักษาความปลอดภัยจะต้องป้องกันจากบุคคล
จ าพวกนี้ให้ได้โดยวิธีการที่บุคคลเหล่านี้ใช้มีด้วยกันหลายวิธี สามารถแบ่งเป็นประเภทได้ 2 ประเภท คือ การ
บุกรุกทางกายภาพ (เข้าถึงระบบโดยตรง) เช่น การเข้ามาคัดลอกข้อมูลใส่แผ่นดิสก์กลับไปการขโมยฮาร์ดดิสก์
ออกไปการสร้างความเสียหายโดยตรงกับฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ หรือการติดตั้งฮาร์ดแวร์ที่ดักจับ Password ของ
ผู้อื่นแล้วส่งไปให้ผู้บุกรุก เป็นต้น ประเภทที่สอง คือ การบุกรุกเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นการปล่อยไวรัส
คอมพิวเตอร์เข้ามาท าลายระบบหรือขโมยข้อมูลการเจาะเข้ามาทางรอยโหว่ของระบบปฏิบัติการโดยตรงเพื่อ
ขโมย Password หรือข้อมูล เป็นต้น
รายงานการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 102