Page 99 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
P. 99
การพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
3. Unix
Unix คืออะไร ยูนิกซ์จัดอยู่ในกลุ่มระบบปฏิบัติการ (OS) แบบ multitasking หรือ multiuser
ซึ่งถือก าเนิดที่สถาบัน Bell Labs วัตถุประสงค์หลักที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็น platform ส าหรับการเขียน
software เพื่อใช้รันในระบบอื่น ๆ แต่ละก็มีการขยายขอบเขตออกไปจนในที่สุดกลายเป็นระบบปฏิบัติการ
ซึ่งลักษณะของ unix คือ ใช้งานด้วย text และเก็บข้อมูลเป็นล าดับชั้น มีเครื่องมือ command ให้ใช้งาน
มากมาย และสามารถ ท างานรวมกันโดยใช้ pipe (|) เป็นตัวเชื่อมระบบของ Unix ถูกบริหารจัดการภายใต้
โปรแกรมหลัก คือ Kernel เพื่อใช้ในการ start/stop โปรแกรมอื่น ๆ และใช้ในการจัดการ file system ใน
ระดับล่าง อีกทั้งยังคอยจัดการ resource ที่มีอยู่ให้ program อื่น ๆ ใช้งานได้โดยไม่ชนกัน
ประวัติของ Unix
หลังจากการถือก าเนิดขึ้นของ “Multics” ซึ่งเป็น operating system ในช่วง 1960 ที่ Bell
Labs ประสบปัญหามากมาย ท าให้ทาง Bell Labsถอด project นี้ออกและตัดสินใจท าใหม่โดยวางขอบเขต
ให้เล็กลงตั้งชื่อใหม่ว่า “Unics” (Uniplexed Information and Computing System) แต่เนื่องจากเสียง
พ้องกับ “Multics” ภายหลังจึงเรียกว่า “Unix”
ในปี 1972 ได้มีการเขียน Unix ใหม่ด้วยภาษา C ซึ่งแต่เดิมเป็น assembly ให้เป็น ภาษา
ชั้นสูงแทน (ภาษา C) ผลคือมันท าให้ software ท างานได้ไวขึ้น และก็เขียน code ได้สั้นลง หลังจากนั้นช่วง
1980 ก็เกิดการขยายตัวในตลาดอย่างมากท าให้เกิด Unix ขึ้นหลายชนิด เช่น HP-UX, Solaris, AIX และในปี
2000 ทาง Apple เองก็น ามาใช้เป็นพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Mac OS X
Unix จึงถูกออกแบบให้ใช้งานกับระบบ server, workstations และอุปกรณ์ mobile
การท างานบน Unix
ส าหรับ Unix จะมีโปรแกรมที่เรียกว่า เชลล์ยูนิกซ์ (Unix shell) ส าหรับรับค าสั่งผ่าน
command line ถ้าเทียบกับ window ก็คือ cmd.exe โดยบนUnix แต่ละ user ที่เข้ามาใช้งานสามารถ
เลือก shell หลายแบบเพื่อใช้งานตามความต้องการที่ต่างกัน
• login shell ท าหน้าที่หลังจาก login ส าเร็จ ทั้งต่อเข้าเครื่องโดยตรง (Console)
และต่อผ่าน telnet
• Interactive shell สามารถรับค าสั่ง แต่ไม่ได้เริ่มตั้งแต่ login เช่น การเปิด
terminal
• Non-interactive shell เป็นการท างานเพื่อรัน script หรือ ชุดค าสั่ง
รายงานการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 97