Page 45 - sipangwat 025
P. 45
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย
ภายหลังการปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีกระแส
ความคิดที่จะให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น
ระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบัน
หลักที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็นล าดับ จนกระทั่งได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.
ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิบัติการให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระท าการก็ถูกจับได้
เสียก่อนเมื่อ พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6
ความจริงแล้วสังคมไทยเริ่มปรับตัวให้เข้ากับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
ภายหลังได้ท าสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลาย
ประเทศ และทรงเปิดรับรับประเพณีและวัฒนธรรมของตะวันตก เช่น การจ้างชาวตะวันตกให้เป็นครูสอน
ภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบรมมหาราชวัง การให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า การ
อนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพร้อมกับขุนนางข้าราชการไทยในงานพระบรมราชาภิเษก เป็นต้น
ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่ม กบฏ ร.ศ. 130
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ พ.ศ. 2453 นั้นกลุ่มปัญญาชน
ต่างก็มุ่งหวังว่า พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย และคงได้ทรงเตรียมพระองค์ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด ารัส
ไว้ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีพระราชด าริในเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ในเวลาเดียวกันประเทศจีนมี
การปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจูเปลี่ยนการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็น
ผลส าเร็จ ท าให้ความคิดอยากจะได้ประชาธิปไตยมีมากขึ้น ประกอบกับความไม่พอใจในพระราชจริยาวัตร
บางประการของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ จึงท าให้เกิดปฏิกิริยาที่จะล้มล้างระบอบการปกครอง
กลุ่ม กบฏ ร.ศ. 130