Page 46 - sipangwat 025
P. 46

ดังนั้น เหตุการณ์ส าคัญที่เกิดขึ้นในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็คือ พวก

               นายทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน รวมประมาณ 100 คน เรียกตัวเองว่า คณะ ร.ศ. 130 ได้วางแผนการ

               ปฏิวัติการปกครองหวังให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย



               พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475
                            การเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น แรกทีเดียวมีพระราชด าริว่า จะพระราชทานในวาระที่มีงาน

               พระราชพิธีฉลองกรุงเทพมหานคร ครบรอบ 150 ปีในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475
                            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งเอกสารร่างรัฐธรรมนูญไปให้สมเด็จกรมพระยา

               ด ารงราชานุภาพ เพื่อน าเข้าประชุมอภิรัฐมนตรีสภา พร้อมบันทึกความเห็นของนายสตีเวนส์และพระยาศรี

               วิศาลวาจา ซึ่งมีความเห็นว่ายังไม่ควรใช้ระบอบการปกครองโดยรัฐสภาในตอนนั้นเนื่องจากประชาชนยังไม่
               พร้อม  ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญที่ได้เตรียมการไว้ ก็ยังไม่ถึงประชาชนในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 และใน

               วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรก็ก่อการปฏิวัติภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่เจ้า

               เสด็จพระราชด าเนินจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน กลับคืนสู่พระนครแล้ว คณะราษฎรได้น า
               พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎรบางคน

               ได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้พระราชทานกลับคืนมาเมื่อ

               วันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มีพิธีเปิ ดสภาผู้แทนราษฎรครั้ งแรกในประเทศไทยเมื่อ
               วันที่ 28 มิถุนายน 2475 ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้มีชื่อเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม


               ชั่วคราว”
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51