Page 134 - คู่มือสื่อมวลชนงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
P. 134

เบา สะดวกแก่การประกอบครอบองค์พระโกศลองใน เมื่อ
            ถวายพระเพลิงจะลุกไหม้ได้สะดวก นับเป็นภูมิปัญญาของ
            ช่างไทยในอดีต
                เหตุที่ใช้ไม้จันทน์เป็นฟืน หรือเชื้อเพลิงในการถวาย
            พระเพลิงพระบรมศพหรือพระราชทานเพลิงพระศพพระมหา
            กษัตริย์และพระบรมราชวงศ์ผู้ใหญ่ เนื่องจากประเพณีของ
            ชนชาติแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอีกหลายภูมิภาค
            นิยมว่า ไม้จันทน์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์มีคุณลักษณะพิเศษ เช่น มี
            กลิ่นหอม เพราะน�้ามันในเนื้อไม้ แก่น และเนื้อไม้มีสีเหลือง
            สวยงามคล้ายทองค�า เป็นของมีค่า หายาก จึงใช้เป็นฟืนหรือ
            เชื้อเพลิงเผาศพผู้ที่เคารพรักอย่างสูงสุด เป็นการให้เกียรติ
            และเป็นการสักการะอย่างสูง เช่น ในคราวถวายพระเพลิง
            พระบรมศพพระพุทธสรีระ ณ เมืองกุสินารา กล่าวว่าใช้ไม้
            จันทน์หอมล้วน ซึ่งถือเป็นประเพณีสืบมาจนปัจจุบัน
                การสร้างหุ่นโครงพระโกศจันทน์ใช้เหล็กเส้นลักษณะ
            ต่าง ๆ ตัด ต่อ เชื่อม ผูก ให้ได้รูปทรงของโครงหุ่นตามแบบ
            ที่ก�าหนด แล้วน�าเส้นลวดตาข่ายขนาดเล็ก ตาค่อนข้างถี่กรุ
            ให้ทั่วและขึงให้ตึง เพื่อให้ได้รูปทรงของโครงหุ่นที่งดงาม
            จากนั้นจึงน�าไม้จันทน์ฉลุลวดลายต่าง ๆ เป็นชิ้น ๆ ประดับ
            ประกอบโดยรอบ ลวดลายที่ใช้ประกอบฐานรองพระโกศ
            จันทน์และพระโกศจันทน์มีมากกว่า ๕๐ ลาย ได้แก่ ลายหน้า
            กระดาน ลายกุดั่นดอกจอก กระจังฝา กระจังคว�่า กระจัง
            จวน ลายดอกไม้ไหว ช่อไม้ไหวบัวถลา ขอบคิ้วบัวถลา อุบะ






                                                     133
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139