Page 16 - อธิษฐานจิตพิชิตความสำเร็จ
P. 16

ทําหน้าที่คอยเป็นเครื่องป้องกันและระงับนิวรณ์ธรรมที่คอยบ่อนทําลายอารมณ์ ความคิด จิตใจ และ รวมถึงการทําลายสมาธิที่เกิดขึ้นอีกด้วย เมื่อนิวรณ์ธรรมไม่เกิดขึ้นกับจิต จิตจะผ่องใส ไม่ถูกทําร้าย และทําลายทําให้จิตเกิดความสว่างและมีพลังงานของจิตมาก เมื่อเราจะทําการกําหนดจิตให้กระทํา อะไรก็ย่อมสัมฤทธิ์ผลได้อย่างง่ายดาย
สําหรับท่านที่ฝึกจิตมาถึงขั้นตอนนี้จะมีอาการกายคือเกิดการเบื่อหน่ายโลก เบื่อหน่ายสังคม และจะรู้จักมนุษย์ทุกรูปแบบ อ่านจิตใจคนได้ รู้ว่าระกรรมทั้งตนเองและผู้อื่นเช่นเดียวกัน มีอํานาจจิต เจโต ปริยญาณ หยั่งรู้ฟ้าดิน บางท่านเจริญมโนยิทธิ จนเกิดเป็นมนุษย์วาจาสิทธิ์ บางคนสามารถมี อิทธิฤทธิ์ สามารถสําแดงฤทธิ์ให้ผู้อื่นเห็นได้บังเกิดมีฌาน อภิญญาฌาน 6 ก็เกิดขึ้นขั้นตอนนี้ยิ่งท่านที่ มีกรรมเก่าน้อยมากและกรรมใหม่ในปัจจุบันชาติไม่ได้สร้างกรรมใหม่ ยิ่งจะมีมากมีฤทธิ์มาก ในบาง ท่านก็นําจิตที่ได้นี้ไปประกอบอาชีพ เช่น หมอดู ตาทิพย์ หมอรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ บางรายก็นํา วิชาความรู้ไปเล่นแร่แปรธาตุ (คือการนําไปใช้ในวิชาทางโลกธรรม)
เมื่อนั่งสมาธิมาถึงระดับนี้ต้องถอนจิตของเรามาพิจารณาความต้องการที่แท้จริงของเราก่อน โดยพิจารณาว่าควร หรือ ไม่ มากน้อยเพียงไร และสิ่งที่จะให้ฌานรู้จะดําเนินไปใน ญาณ ผิด ถูก ชั่ว ดี ประการใด รวมถึงการสร้างกรรมให้เกิดขึ้นให้ละเอียดถ่องแท้ว่าเหมาะสมหรือควรหรือไม่ควรกระทํา การถอดจิตในขณะที่นั่งสมาธิมาถึงขั้นนี้ นั้นกระทําได้ง่าย เพียงแต่ท่านแยกมือออกจากกันแล้วนํามา วางที่หัวเข่าทั้งสองข้าง แล้วเริ่มนับลมปราณที่เข้าออก อย่างละเอียดประมาณสัก 10 คู่ลมหายใจ แล้วตั้งสติให้มั่นไม่วอกแวก และทําโดยแผ่วเบานุ่มนวลและระวังอย่าให้ดวงจิตกระเพื่อมและซัดส่าย ออกนอกอารมณ์ของ
23. วสี 5 วสี คือความชํานาญ ที่ต้องใช้ในการฝึกอบรมจิตทุกขั้นตอน
การฝึกจิต ก็เหมือนกับการศึกษาวิชาทางโลกกล่าวคือต้องศึกษาอย่างถ่องแท้ ละเอียดทุกขั้น
ตอน และต้องหมั่นหาความรู้ เพิ่มความสามารถและต้องอดทนรอคอยความสําเร็จ ซึ่งแต่ละขั้นตอน ต้องกระทําซ้ําๆ ซากๆ และต้องกระทําแบบต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชํานาญ จึงจะช่วยให้เกิดความ คล่องตัวในการเรียนรู้ทั้งงานทางโลก และงานทางธรรม (งานทางธรรมหมายถึงนําจิตให้พ้นจากความ ทุกข์ทั้งมวลและไม่มัวเมาในสิ่งที่เป็นเครื่องลวงโลก แล้วหาทางหลุดพ้นเข้าสู่แดนนิพพานซึ่งเป็นแดน สุดท้าย ที่ไม่ต้องดิ้นรนไม่ต้องเกิด ไม่ต้องดับ ไม่ต้องทุกข์ ไม่ต้องมีสุข ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืน ไม่ ร้อน ไม่หนาว ไม่ยินดี และยินดี)
16


































































































   14   15   16   17   18