Page 14 - อธิษฐานจิตพิชิตความสำเร็จ
P. 14
นักปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ มีความประสงค์จะทําจิตให้เป็นสมาธิ มีปัญญาปรีชาญาณ รู้แจ้งแทงตลอดในพระธรรมวินัย จึงจําเป็นต้องกําหนดให้รู้จิตที่ตกลงสู่ภวังค์เอง
วิธีกําหนดให้รู้จิตที่ตกลงสู่ภวังค์เอง พึงมีสติกําหนดให้รู้จิต ในเวลาที่กําลังนึกคําบริกรรม ภาวนาอยู่นั้น ครั้นเมื่อเรามีสติกําหนดจดจ่อต่อคําบริกรรมจริงๆ จิตของเราก็ย่อมจดจ่อต่อคําบริกรรม ด้วยกัน
เมื่อจิตจดจ่อต่อคําบริกรรมอยู่แล้ว จิตย่อมตั้งอยู่ในความเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลาง จิตย่อม วางอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตวางอารมณ์ภายนอกหมดแล้ว จิตย่อมตกลงสู่ภวังค์เอง
เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์ ย่อมแสดงอาการให้รู้สึกได้ทุกคนตลอดไป คือ แสดงให้รู้สึกว่า รวม วูบวาบลง ทั้งแรงก็ดี หรือแสดงให้รู้สึกว่า สงบนิ่ง แน่ลงถึงที่ แล้วสว่างโล่งเยือกเย็นอยู่ในใจ จนลืม ภายนอกหมดคือ ลืมตน ลืมตัว หรือลืมคําบริกรรมภาวนา เป็นต้น
แต่บางคนก็ไม่ถึงกับลืมภายนอก แต่ก็ย่อมรู้สึกว่า เบากาย เบาใจ เยือกเย็น เป็นที่สบาย เฉพาะภายในเหมือนกันทุกคน
พระพุทธเจ้าทรงรับรองความเบากาย เบาใจนี้ เรียกว่า พระยุคคละ มี 6 ประการ คือ 1. กายลหุตา จิตตลหุตา แปลว่า เบากาย เบาใจ
2. กายมุทุตา จิตตมุทุตา แปลว่า อ่อนหวานพร้อมทั้งกาย ทั้งใจ
3. กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ แปลว่า สงบพร้อมทั้งกาย ทั้งใจ
4. กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา แปลว่า เที่ยงตรงพร้อมทั้งกาย ทั้งใจ
5. กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา แปลว่า ควรแก่การกระทําพร้อมทั้งกาย ทั้งใจ 6. กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา แปลว่า คล่องแคล่วสะดวกดีพร้อมทั้งกาย ทั้งใจ
และระงับทุกขเวทนาต่างๆ คือ ระงับความเหน็ด ความเหนื่อย ความหิวทั้งปวง ตลอดความ เจ็บปวดทุกประการ ก็ระงับกลับหายไปพร้อมกัน รู้สึกได้รับความสบายกาย สบายใจ ปลอดโปร่งในใจ ขึ้นพร้อมกันทีเดียว
14