Page 4 - Pane
P. 4
ชั่วโมงที่ 3
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยี และวางแผน
ร่วมกันในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือภูมิศาสตร์ตามหัวข้อที่กําหนด ให้
ในใบงาน เรื่อง ประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยี
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มนําเสนอผลงานจากการแสวงหาความรู้และช่วยกันสรุปผลของการ
พัฒนา เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยี
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมมือกันจัดทําแผนผังจําลองแสดงที่ตั้งของโรงเรียนหรือที่ตั้งอําเภอ เขต
โดยกําหนดมาตราส่วนของสถานที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม
4. นักเรียนแต่ละกลุ่มนําเสนอผลงานด้วยการจัดเป็นป้ายนิเทศหรือการรายงาน ครูและนักเรียน
ช่วยกันสรุปความสําคัญของการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์
5. นักแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีและ
ทํากิจกรรมในใบงานที่ 1
6. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยี แล้ว
ร่วมกันทําใบงานที่ 2 เรื่อง การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยี
7. นักเรียนทําแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์๖.
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
ข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับครู
1 ใบงาน เรื่อง ประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ใบงาน เรื่อง การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
3. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เช่น ลูกโลก, เข็มทิศ, ภาพถ่ายดาวเทียม
4. แผนที่ชนิดต่างๆ เช่น แผนที่รัฐกิจแสดงอาณาเขตการปกครองจังหวัดและทวีปเอเชีย, แผนที่
เฉพาะกรณีแสดงภูมิอากาศและลักษณะทางธรณีวิทยา, แผนที่เล่มแสดงลักษณะทางเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น
5. หนังสืออ่านเพิ่มเติม เช่น
หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ม.๑
วีรวรรณ กิตติศักดิ์ และกวี วรกวิน. ภูมิศาสตร์เพื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร : สมาคม
ภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๓๔.
6. ศูนย์วิทยบริการที่ให้บริการความรู้ทางภูมิศาสตร์เช่นภาควิชาภูมิศาสตร์คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น
7. แหล่งข้อมูลสารสนเทศค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://www.aksorn.com/Lip/S/Soc_05,