Page 22 - ทร02006
P. 22
14
ตอนที่ 2.1 ประเภทของโครงงาน
การจําแนกประเภทของโครงงานอาจแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น
1. จําแนกตามกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.1 โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการกําหนดโครงงานที่บูรณาการระหว่างสาระการ
เรียนรู้และทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเอง
1.2 โครงงานตามความสนใจ เป็นการกําหนดโครงงานตามความถนัด ความสนใจ ความ
ต้องการของผู้เรียน
2. จําแนกตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
2.1 โครงงานที่เป็นการสํารวจรวบรวมข้อมูล
2.2 โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้าทดลอง
2.3 โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎีหลักการหรือแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาผลงาน
2.4 โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์คิดค้น
โดยมีรายละเอียดในแต่ละประเภทของ ดังนี้
1. โครงงานที่เป็นการสํารวจรวบรวมข้อมูล เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนําข้อมูลนั้นมาจําแนกเป็นหมวดหมู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ข้อมูลที่ได้จะนําไปปรับปรุง
พัฒนาผลงาน ส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าวอาจมีผู้จัดทําขึ้นแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลง
จึงต้องมีการจัดทําใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ศึกษาโครงงาน โดยใช้วิธีการเก็บ
ข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก เช่น การสํารวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน การสํารวจงาน
บริการและสถานประกอบการในท้องถิ่น เป็นต้น
ในการทําโครงงานประเภทสํารวจรวบรวมข้อมูล ไม่จําเป็นต้องมีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้เรียน
เพียงแต่สํารวจรวบรวมข้อมูลที่ได้แล้ว และนําข้อมูลที่ได้มาจัดให้เป็นหมวดหมู่พร้อมนําเสนอ ก็ถือว่าเป็นการ
สํารวจรวบรวมข้อมูล
2. โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้าทดลอง เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเรื่องใด
โดยเฉพาะ โดยศึกษาหลักการและออกแบบการค้นคว้า ในรูปแบบการทดลองเพื่อยืนยันหลักการ ทฤษฎี เพื่อ
ศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น การปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี การทํา
ขนมอบชนิดต่างๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น การควบคุมการเจริญเติบโตของต้นไม้ประเภทเถา การศึกษาสูตร
เครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญพืช
ในการทําโครงงานประเภทการศึกษาค้นคว้าทดลอง จําเป็นต้องมีการจัดการกับตัวแปรที่จะมีผลต่อ
การทดลอง มี 3 ชนิด คือ
2.1 ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ หมายถึงเหตุของการทดลองนั้นๆ
2.2 ตัวแปรตาม ซึ่งจะเป็นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต้น
2.3 ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม
โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น