Page 51 - ทร02006
P. 51

42

                         การจัดประเภทความรู้อีกลักษณะ จําแนกความรู้เป็นเชิงคุณภาพกับเชิงปริมาณ ไอน์สไตน์ เคยกล่าว

                  เปรียบเปรยความรู้ทั้งสองลักษณะไว้ ว่า “เราอาจใช้วิชาฟิสิกส์วิเคราะห์หรือพรรณาลักษณะของคลื่นให้

                  ละเอียดลึกซึ้งได้มากมาย แต่การทําเช่นนั้น ย่อมไม่มีความหมาย (ทางดนตรี) ใดๆ เมื่อไปใช้กับบทเพลงของบีโธ
                  เว่น” บางคนอาจตีความหมายคํากล่าวนี้ว่า วิชาฟิสิกส์ซึ่งเน้นการสร้างความรู้เชิงปริมาณเป็นคนละเรื่องกับวิชา

                  ดนตรีซึ่งเป็นเรื่องของความรู้เชิงคุณภาพ เหมือนน้ํากับน้ํามันย่อมเข้ากันไม่ได้
                         อย่างไรก็ตามความสําเร็จของยามาฮ่าในอุตสาหกรรมเครื่องดนตรี ชวนให้ต้องคิดในอีกมุมหนึ่งก่อน

                  ยามาฮ่าจะประสบความสําเร็จ เปียโนนับเป็นเครื่องดนตรีสําหรับคนส่วนน้อยที่เล่นเปียโนเป็น (ซึ่งต้องผ่านการ

                  ฝึกฝนยาวนาน) สําหรับคนส่วนใหญ่เปียโนเป็นได้อย่างเก่งเพียงเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านชิ้นใหญ่
                         ด้วยวิธีคิดนอกกรอบยามาฮ่ามองเห็นความเป็นไปได้ ที่จะทําให้เปียโนเป็นเครื่องดนตรีสําหรับคนส่วน

                  ใหญ่ จึงลงมือค้นคว้าวิจัยโดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับเสียงในวิชาฟิสิกส์ จนสามารถพัฒนาอุปกรณ์อิเลคทรอนิค

                  (Disklavier™) ช่วยให้การเล่นเปียโนง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก โดยการบันทึกเสียงขณะเล่นแล้วสะท้อนกลับให้ผู้ฝึก
                  ได้ยิน รวมทั้งสามารถบันทึกและเล่นเสียงเปียโนของมืออาชีพ ให้เลียนแบบความรู้ใหม่ซึ่งอยู่เบื้องหลัง

                  Disklavier™  ได้กลายเป็นต้นแบบให้กับการพัฒนาเปียโนในปัจจุบัน และเปิดศักราชใหม่ของการเรียนเล่น

                  เปียโนอย่างแพร่หลายกว่ายุคก่อนๆ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56