Page 13 - คำวินิจฉัยศาลปกครองด้านพัสดุ
P. 13
บทที่ ๑
สาระส าคัญของกฎหมายว่าด้วยการพัสดุ
ั
เนื่องจากในปจจุบันการด าเนินการเกี่ยวกับการพัสดุของส่วนราชการ (กระทรวง
ทบวง กรม และราชการส่วนภูมิภาค) เพื่อให้ได้พัสดุและหรือการบริการที่ต้องการเพื่อน ามา
ใช้ประโยชน์ในการจัดท าบริการสาธารณะที่อยู่ในอ านาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการ มีระเบียบ
ส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเครื่องมือส าคัญส าหรับก ากับดูแล
การด าเนินการเพื่อให้ได้พัสดุและการบริการดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
และมีบรรทัดฐานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเป็นไปโดยสุจริต โปร่งใส และเป็นธรรม
ซึ่งระเบียบดังกล่าวนอกจากใช้บังคับโดยตรงกับส่วนราชการข้างต้นแล้ว ยังเป็นต้นแบบของ
ระเบียบว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานทางปกครองอื่นๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
เป็นเหตุให้ระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุที่ใช้บังคับเป็นการเฉพาะกับหน่วยงานทางปกครองอื่นๆ
นั้น ส่วนใหญ่มักมีเนื้อหาสาระท านองเดียวกันกับระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ
เช่น ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๓๕ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนต าบล
พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้น และด้วยเหตุที่ระเบียบว่าด้วยการพัสดุดังกล่าวมีเนื้อหาสาระเป็นไป
ในแนวทางเดียวกัน ท าให้การศึกษาค าวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับการพัสดุ
ของหน่วยงานทางปกครองต่างๆ สามารถท าการศึกษาพร้อมกันไปในภาพรวมได้โดยไม่จ าเป็นต้อง
แยกศึกษาเป็นรายองค์กร ทั้งนี้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาททั้งในแง่ของข้อเท็จจริงและ
ข้อกฎหมายในท านองเดียวกัน และโดยที่การด าเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการพัสดุ
ตามที่ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ ก าหนดไว้นั้น อาจมีผลกระทบต่อบุคคล
ที่เกี่ยวข้องซึ่งท าให้เกิดข้อโต้แย้งเป็นประเด็นพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาลปกครองได้
ในหลายกรณี ดังนั้น เพื่อให้การศึกษาแนวค าวินิจฉัยของศาลปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็น
ข้อพิพาทเรื่องการพัสดุมีความชัดเจนและง่ายต่อการท าความเข้าใจยิ่งขึ้น ในบทนี้จึงเป็นการ
อธิบายความรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการพัสดุเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงหลักเกณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้าง
ตามที่ก าหนดไว้ในระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ ซึ่งเป็นต้นแบบของระเบียบ
ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานทางปกครองต่างๆ เป็นหลักเสียก่อน โดยแบ่งการน าเสนอออกเป็น
สองส่วน กล่าวคือ ส่วนแรก เป็นการน าเสนอสาระส าคัญของระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และส่วนที่สอง เป็นการน าเสนอสาระส าคัญ
ของระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นส าหรับผู้อ่านได้ใช้ประกอบในการศึกษาแนวค าวินิจฉัยของ
ศาลปกครองสูงสุดที่จะน าเสนอในล าดับต่อไป