Page 34 - คำวินิจฉัยศาลปกครองด้านพัสดุ
P. 34
๒๒
ทั้งนี้ การจัดหาแต่ละประเภทมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปเพื่อความเหมาะสมกับ
พัสดุและบริการที่หน่วยงานของรัฐต้องการ ในส่วนนี้ขอน าเสนอขั้นตอนและวิธีการจัดหาพัสดุ
ตามที่ก าหนดไว้ในระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ เฉพาะประเภทที่ส่วนราชการ
ใช้อยู่เป็นประจ าและมักเกิดข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลอยู่เสมอ อันได้แก่ การซื้อหรือการจ้าง การจ้าง
ที่ปรึกษา และการจ้างออกแบบและควบคุมงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๕.๑ การซื้อหรือการจ้าง
๕.๑.๑ วิธีการซื้อหรือการจ้าง
ั
การซื้อหรือการจ้างเป็นวิธีการจัดหาพัสดุที่ส าคัญวิธีหนึ่ง เนื่องจากปจจุบัน
ส่วนราชการจะใช้วิธีการซื้อหรือจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุหรือบริการ โดยข้อ ๑๘ ของระเบียบ
ส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ ได้แบ่งวิธีการซื้อหรือจ้างไว้ ๖ วิธี ตามวงเงิน
งบประมาณในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้นๆ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความเหมาะสม
ในการตรวจสอบความถูกต้องในการด าเนินการ กล่าวคือ ในกรณีการซื้อหรือจ้างที่มีวงเงิน
งบประมาณน้อย ขั้นตอนการด าเนินการจะน้อยกว่าการซื้อหรือจ้างที่มีวงเงินงบประมาณมากๆ
การก าหนดเช่นนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดหาพัสดุที่ใช้วงเงินงบประมาณน้อย
เพราะหากต้องใช้วิธีการเดียวกันทุกวงเงินงบประมาณอาจท าให้การด าเนินการจัดหาพัสดุล่าช้า
นอกจากนั้น การก าหนดขั้นตอนการด าเนินการส าหรับการซื้อหรือจ้างที่มีวงเงินงบประมาณมาก
ให้มีความซับซ้อนมากขึ้น ก็เพื่อให้มีการตรวจสอบความถูกต้องและโปร่งใสในการด าเนินการจัดหา
ซึ่งการซื้อหรือการจ้างทั้ง ๖ วิธีดังกล่าว ได้แก่
๑) วิธีตกลงราคา
๒) วิธีสอบราคา
๓) วิธีประกวดราคา
๔) วิธีพิเศษ
๕) วิธีกรณีพิเศษ
๖) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลัง
๔๙
ก าหนด
๔๙
เพิ่มเติมโดยข้อ ๕ ของระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๕