Page 39 - cover-biology-boontieam new28-8 i_coateduv
P. 39
พระนครศรีอยุธยา โดยได้ไปที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ พระราชวังบางปะอิน และ
สถานที่สำคัญอื่น ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับเป็นความตื่นตาตื่นใจของ
นักเรียนต่างจังหวัดที่มีโอกาสได้ไปเปิดหูเปิดตา ชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
และเป็นการเสริมความรู้เกี่ยวกับวิชาที่เรียนด้วย ถือเป็นประสบการณ์ที่ดี
ที่ยังอยู่ในความทรงจำ แม้อาจจะหลงลืมในรายละเอียดต่าง ๆ ไปบ้างก็ตาม
เพราะกาลเวลาได้ผ่านมานานมากกว่า 40 ปีแล้ว
มัธยมปลาย
เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” แล้ว พ่อแม่ก็ยัง
มีความตั้งใจที่จะไม่ให้เรียนต่อ แต่พอดีน้องชาย (นายวิบูลย์ โชควิวัฒน) ได้ไป
สมัครเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนดรุณพิทยาที่กรุงเทพฯ แล้ว
พ่อแม่จึงยอมให้ไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ. 4 - ม.ศ. 5) ในปี พ.ศ.
2518 - พ.ศ. 2520 ที่โรงเรียนนครนายกวิทยาคม (นวค.) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ
จังหวัดนครนายก ตอนที่ไปขอเข้าเรียนทางโรงเรียนได้ปิดรับสมัครรับนักเรียน
ไปแล้ว แต่บังเอิญในปีนั้นมีนักเรียนเข้าเรียนน้อยกว่าจำนวนที่เปิดรับและยังมี
ที่ว่างอีกหลายที่ เมื่อทางโรงเรียนดูคะแนนตอนจบ ม.ศ. 3 แล้ว เห็นว่าคะแนน
ที่สอบได้อยู่ในเกณฑ์ดี จึงรับเข้าเรียน และได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนดังกล่าวเป็นเวลา
2 ปี โดยมีการนำระบบการตัดเกรดตามกลุ่มคะแนนมาใช้แทนระบบเปอร์เซ็นต์
เป็นครั้งแรก การเรียนก็เรียนไปแบบไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตว่าจะไปเรียนต่อ
อะไรที่ไหนดี เรียนไปเล่นไป โดยไม่มีการเตรียมตัววางแผนเข้ามหาวิทยาลัย
เพราะคิดว่ายังไงก็ต้องกลับไปช่วยพ่อแม่ขายของที่บ้านแน่ ๆ จึงเรียนไปแบบ
ประคองตัวสอบให้ผ่านเพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ที่น่าสนใจมีอยู่
เรื่องหนึ่งคือ ขณะที่เรียนอยู่ชั้น ม.ศ. 4 ได้มีอาจารย์ท่านหนึ่ง คือ อาจารย์ปริศนา
สำราญกิจ (นามสกุลเดิม วชิรไรพันธ์) เพิ่งจบมาใหม่ ๆ เข้ามาสอนวิชาภาษาไทย
ที่โรงเรียนนครนายกวิทยาคม ท่านสามารถสอนได้ดี มีความสนุก และมีความ
เป็นกันเองกับนักเรียน ทำให้เวลาเรียนรู้สึกสบาย ไม่เครียด และมีความรู้
ความเข้าใจในการใช้ภาษาไทยมากขึ้น เป็นเหตุให้อยากเรียนวิชานี้ และเป็น
ถ่ายภาพกับอาจารย์ปริศนา สำราญกิจ ครูสอนวิชาภาษาไทย เมื่อครั้งที่เรียน วิชาเดียวที่มีการเตรียมการเรียนโดยอ่านหนังสือล่วงหน้าก่อนไปเรียน ส่งผลให้
อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 5 โรงเรียนนครนายกวิทยาคม ในคราวที่ไปมอบ เวลาเรียนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และสามารถตอบคำถามในห้องเรียนได้อย่าง
อุปกรณ์กีฬาให้แก่โรงเรียนที่เคยเรียนและโรงเรียนในกลุ่มเดียวกันที่อยู่ในพื้นที่ รวดเร็วและถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นที่ชื่นชอบของอาจารย์ และมีอยู่ครั้งหนึ่ง
ณ วัดสุตธรรมาราม เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2542
ที่อาจารย์ได้ออกข้อสอบปรนัยให้นักเรียนได้ทำ โดยให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
36 37