Page 19 - เอกสารสัมมนา
P. 19

16






                  จากการประเมิน PISA  ที่ผ่านมา มีข้อสังเกตที่ส าคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก

           ผลการประเมินชี้ว่า ระบบ การศึกษาไทยมีส่วนหนึ่งที่มีคุณภาพและสามารถพัฒนา

           นักเรียนให้มีความสามารถในระดับสูงได หากระดับนโยบาย สามารถสร้างความเท่าเทียม

           กันทางการศึกษา โดยขยายระบบการศึกษาที่มีคุณภาพไปให้ทั่วถึง ก็จะสามารถยกระดับ

           คุณภาพการเรียนรูของนักเรียนใหทัดเทียมกับนานาชาติได้ ประการที่สอง นักเรียนไทยทั้ง
                                             ้
           กลุ่มที่มีคะแนนสูง และกลุ่มที่มีคะแนนต่ า มีจุดอ่อนอยู่ที่การอ่าน ซึ่งใน PISA 2018 เป็น

           การประเมินการอ่านเนื้อหาสาระ ที่มาจากทั้งแหล่งข้อมูลเดียวและหลายแหล่งข้อมูล อีก

           ทั้งสื่อที่นักเรียนไดอ่านส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งสะท้อนถึงธรรมชาติของการอ่านที่

           เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณของโลก และสอดคลองกับการใช้ข้อมูลในชีวิตจริงของ

           ผูคนทั่วโลก ดังนั้น ระบบการศึกษาไทยจึงควรส่งเสริมการเรียนรูด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

           เข้าไปในการเรียนการสอนเพื่อสร้าง ความคุ้นเคย และยกระดับความสามารถด้านการอ่าน

           ของนักเรียนในยุคดิจิทัลต่อไป และประการที่สาม แนวโนม คะแนนการอ่านของไทย

           ลดลงอย่างต่อเนื่อง และความฉลาดรูด้านการอ่านมีความสัมพันธ์กับความฉลาดรู้ ด้าน

           คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระบบการศึกษาไทยจึงต้องยกระดับความสามารถด้าน

           การอ่านของนักเรียนอย่างเร่งด่วน

                  ดังนั้นในปัจจุบันประเทศไทยจึงได้มีการน าเอาหลักสูตรสตรีมศึกษา

           (STREAM  Education) มาจัดท าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน  โดยเฉพาะในด้านการ

           จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณภาพการศึกษา

           ความสามารถการแข่งขันให้ทัดเทียมนานาชาติได้


            ความหมายของ STREAM Education




               สะตรีมศึกษานี้เป็นหลักสูตรที่บูรณาการ 6 สาขาวิชาด้วยกัน ได้แก่ วิทยาศาสตร์

        (Science) เทคโนโลยี (Technology) การอ่าน (Reading) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)

        ศิลปะ (Art)  และคณิตศาสตร์ (Mathematics)  โดยครูผู้สอนมองว่าวิทยาศาสตร์อาจไม่ใช่

        สาขาวิชาแกนหลักเสมอไป แต่การอ่านต่างหากที่เป็นเครื่องมือส าคัญของการเรียนรู้ อีกทั้งยัง

        สามารถบูรณาการการอ่านเข้าไปในเนื้อหาวิชาได้อย่างง่ายดาย และหากผู้เรียนมีทักษะการ

        อ่าน จะท าให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้วิชาอื่นๆ ได้ดีอีกด้วย (สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์, 2560: 27)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24