Page 15 - Microsoft Word - บทที่ 2.doc
P. 15
-17-
2.4 กฎหมายเปรียบเทียบกับระเบียบสังคมอื่น8
ในทางสังคมศาสตร กฎหมายเปนสิ่งที่ควบคุม หรือกําหนดความประพฤติของ บุคคลในสังคม ดังเชนระเบียบสังคมอื่น เชน ศาสนา ศีลธรรม หรือจารีตประเพณี สิ่ง เหลานี้มีสวนที่เหมือนกัน คือ การกําหนดของเขตของพฤติกรรมของมนุษย แตก็มีสวนที่ แตกตางกันในสาระสําคัญพอสมควร จึงตองมีการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบกัน ดังตอไปนี้
กฎหมายกับศาสนา
ศาสนา คือ กฎขอบังคับที่ผูนําทางศาสนากําหนดขึ้น เพื่อใหมนุษยประพฤติแต สิ่งที่ดี ละเวนความชั่ว ศาสนาเปนความเชื่อถือของมนุษยที่ศาสดาของศาสนาตางๆ ไดวาง แนวทางปฏิบัติในรูปคําสอน ผูที่เลื่อมใสจะเชื่อถือและปฏิบัติตาม แตถาผูใดฝาฝนหรือ ละเมิด ก็เชื่อกันวาจะไดรับผลรับตอบแทน อาทิเชน ศาสนาคริสตมีที่มาจากความคิดทาง ศาสนายูดาย (Judaism) ซึ่งเปนศาสนาประจําเผาของชนเผายิว มีความเชื่อวาพระเจาเปน ผูสรางโลก มอบบัญญัติ 10 ประการ ใหชนชาวยิว ความเชื่อนี้ตกทอดมาต้ังแตสมัยโมเสส วา เปนพระบัญญัติของพระผูเปนเจา และเชื่อกันวาสักวันหนึ่งโลกจะถึงกาลอวสาน โดย พระเจาจะเสด็จลงมาพิพากษา การดําเนินชีวิตของชาวคริสตจึงถูกสอนใหปฏิบัติตามพระ บัญญัติของพระผูเปนเจาอยางเครงครัดและเอาจริงเอาจังจึงทําใหเกิด ธรรมเนียมการ ยึดถือตอกฎเกณฑมาตั้งแตยุคของโรมันตลอดมาเปนพันๆ ป จนถึงปจจุบัน ฉะนั้น การ อบรมสั่งสอนของชาวคริสเตียนตั้งแตเล็กจนโตจะถูกปลูกฝงใหนับถือกฎหมาย โดยเฉพาะ อยางยิ่งในโลกตะวันตก มีวัฒนธรรมที่ถูกอบรมสั่งสอนกันมา คนดี คือคนที่ปฏิบัติตาม กฎหมาย ซึ่งลวนแตเปนสิ่งที่พระผูเปนเจากําหนด ใครไมปฏิบัติตามกฎหมายเปนคนบาป ความเชื่อถือเชนนี้ มีผลอยางยิ่งตอการถือวากฎหมายเปนใหญในทุกเรื่องของอารยธรรม ตะวันตก9 ศาสนาอื่นๆ ที่ครอบคลุมซีกโลกตะวันตก ไมวาจะเปนศาสนาพุทธ ฮินดู อิสลาม ขงจ้ือ ฯลฯ ตางก็มีหลักคําสอนของศาสดาแหงศาสนาดังกลาว เปนแนวทางปฏิบัติและ ยึดถือคลายๆ กัน ผูที่เลื่อมใสเชื่อถือก็จะปฏิบัติตามอยางเครงครัด ผูฝาฝนก็เชื่อวาจะไดรับ ผลตอบแทน ฉะนั้น ทั้งกฎหมายและศาสนามีสิ่งที่เหมือนกัน ก็คือ เปนเครื่องมือที่กําหนด ความประพฤติของมนุษย ซึ่งจะกําหนดผลตอบแทนแกผูละเมิด และตางก็ถือวาเปนที่มา ของกฎหมาย แตทั้งนี้ กฎหมายและศาสนาก็มีขอแตกตางกันในสาระสําคัญ กลาวคือ
8 นุชทิพยป.บรรจงศิลป.(2544).เอกสารประกอบการสอนวิชาความรูเบื้องตนเก่ียวกับ กฎหมาย พิมพคร้ังท่ี 9. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย. หนา 29-31.
9 ปรีดีเกษมทรัพย.(2531).นิติปรัชญา.พระนคร:นราการพิมพ.หนา139.