Page 24 - Microsoft Word - บทที่ 2.doc
P. 24
-26-
สภาคู รูปแบบของรัฐบาล ซึ่งอาจเปนระบบประธานาธิบดีหรือระบบรัฐสภา การตั้งศาล และความคุมกันที่ใหแกผูพิพากษา สิทธิ เสรีภาพ และหนาที่ของพลเมือง รวมถึงวิธีการ แกไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
สวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ Constitutional Law เปนหลักกฎหมายที่วาดวย การจัดระเบียบการปกครองในทางการเมือง ไมใชตัวบทกฎหมาย เพราะฉะนั้น การที่มีบาง คนกลาวอางถึงรัฐธรรมนูญ โดยเรียกวากฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรานั้นมาตรานี้ จึงเปนการ เรียกที่ไมถูกตอง เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญเปนหลักกฎหมายที่กลาวถึงกฎหมายหลาย เรื่องหลายฉบับ ไมใชแตรัฐธรรมนูญเทานั้น สวนรัฐธรรมนูญเปนตัวบทกฎหมายฉบับหนงึ่ และแบงออกเปนมาตราๆ
กฎหมายปกครอง (Administrative Law)
กฎหมายปกครองเปนสวนหนึ่งของกฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกี่ยวกับการจัด ระเบียบการปกครองรัฐในทางปกครอง ซึ่งตามศัพทกฎหมายปกครองของไทย เรียกวา การ จัดระเบียบราชการบริหาร และการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝายปกครอง ซึ่งตาม ศัพทกฎหมายปกครอง เรียกวา การจัดทําบริการสาธารณะ นอกจากนี้ ยังรวมถึงความ เกี่ยวพันในทางปกครองระหวางฝายปกครองกับเอกชนผูใตการปกครองดวย
การจัดระเบียบการปกครอง การจัดระเบียบในทางปกครอง หรือที่กฎหมาย ปกครองไทยเรียกวา การจัดระเบียบราชการบริหารนั้น มีหลักทั่วไปที่ใชอยูในประเทศ ตางๆ อยู 2 ประการ คือ
1. หลักการรวมอํานาจปกครอง (Centralization) เปนวิธีการจัดระเบียบการ ปกครองที่กําหนดใหราชการสวนกลางกับราชการสวนภูมิภาคมีความสัมพันธกันอยาง ใกลชิด โดยราชการสวนกลางจะรวมอํานาจปกครองทั้งหมดไวในสวนกลาง หลักการรวม อํานาจปกครองมีลักษณะสําคัญที่เห็นไดชัด คือ มีการรวมกําลังในการบังคับตางๆ คือ ทหาร ตํารวจ ใหขึ้นตอสวนกลางทั้งสิ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบรอยและความมั่นคงของ ประเทศ อํานาจวินิจฉัยสั่งการขั้นสุดทายอยูที่สวนกลาง ซึ่งสวนกลางจะมีอํานาจสั่งการได ทั่วประเทศ รวมทั้งเจาหนาที่สวนกลางที่ถูกสงไปประจํายังภูมิภาคดวย เจาหนาที่ ผูดําเนินการปกครองตางๆ จะมีความสัมพันธกันอยางใกลชิด และขึ้นตอกันตามลําดับการ บังคับบัญชา นโยบายในการปกครองประเทศ รวมทั้งดางตางประเทศ สวนกลางจะเปน ผูรับผิดชอบดําเนินการ
หลักการรวมอํานาจยอมมีผลดี ทําใหประเทศเกิดความมั่นคงและประชาชน ไดรับประโยชนอยางเสมอภาคทั่วถึงกัน แตก็มีผลเสียโดยเฉพาะความลาชาเกี่ยวกับแบบ