Page 31 - Microsoft Word - บทที่ 2.doc
P. 31

-33-
ศาลชั้นตน เปนศาลรับฟองชั้นเริ่มดําเนินคดี (ไมวาจะเปนคดีแพงหรือ คดีอาญา) ศาลชั้นตนแบงออกเปนหลายประเภท โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปน เมืองหลวงและศูนยกลางของการคา และอุตสาหกรรม คดีแตละประเภทเกิดขึ้นเปนจํานวน มาก ศาลในกรุงเทพมหานครสวนมากเปนศาลใหญ และแบงศาลตามประเภทคดี เปนศาล แพง ศาลอาญา สวนศาลในจังหวัดอื่นมีอํานาจทั่วไปรวมทั้งคดีแพงและคดีอาญา มิไดแบง ศาลตามประเภทคดีอยางในกรุงเทพมหานคร ศาลชั้นตนในตางจังหวัดมีอยูอยางนอย จังหวัดละ 1 ศาล หรือมากกวานั้น แลวแตอาณาเขตของจังหวัด จํานวนคดี และการ คมนาคม ซึ่งจะชวยอํานวยความสะดวกใหแกประชาชน
นอกจากศาลชั้นตนที่มีอํานาจทั่วไปแลว ยังมีศาลที่มีอํานาจพิจารณาคดีเล็กๆ นอยๆ ในกรุงเทพมหานคร และในบางจังหวัด เรียกวา “ศาลแขวง” ตอมา ไดมี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลชั้นตนขึ้นอีกหลายศาล ไดแก พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติจัดต้ังศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพยสินทางปญญาและ การคาระหวางประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพยสินทางปญญาและการคาระหวางประเทศ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลลมละลายและวิธีพิจารณาคดีลมละลาย พ.ศ. 2542
ดังนั้น ศาลที่มีฐานะเปนศาลชั้นตน มีดังนี้
1. ศาลชั้นตนตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ก. สําหรับกรุงเทพมหานคร ไดแก
(1) ศาลแขวง
(2) ศาลจังหวัดมีนบุรี
(3) ศาลแพงธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี
(4) ศาลแพงกรุงเทพใต และศาลอาญากรุงเทพใต (5) ศาลแพง และศาลอาญา
ข. สําหรับจังหวัดอื่นๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ไดแก (1) ศาลแขวง
(2) ศาลจังหวัด
 






















































































   29   30   31   32   33