Page 8 - นวัฒกรรม 1
P. 8
ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ๗๕% ของค่าจ้างในวันทำงาน
ที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน
9. การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
9.1 การบอกเลิกสัญญาจ้าง
(1) กรณีการจ้างมีกำหนดระยะเวลาสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด
ระยะเวลาจ้างโดยนายจ้างและลูกจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
(2) กรณีการจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา
(2.1) ถ้านายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง
• ถ้านายจ้างบอกกล่าวการเลิกจ้าง ล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ลูกจ้างทราบอย่างน้อยหนี่ง
งวดการจ้ายค่าจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
• ถ้านายจ้างไม่บอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ลูกจ้างทราบอย่างน้อยหนึ่ง
งวดการจ่ายค่าจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและเงินที่
ลูกจ้างควรจะได้รับเท่ากับค่าจ้างนับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิก
สัญญาจ้างมีผล
(2.2) ถ้าลูกจ้างขอลาออกจากงาน ให้ลูกจ้างบอกกล่าวล่วงหน้าเป็น
หนังสือให้นายจ้างทราบอย่างน้อยหนึ่งงวดการจ้ายค่าจ้างโดยนายจ้างไม่จำเป็นจ่ายค่าชดเชย
ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
(3) สัญญาจ้างทดลองงานที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาถือเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มี
กำหนดระยะเวลา
9.2 การเลิกจ้าง
คือการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ้ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็น
เพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใดหรือการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
เพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
9.3 การเกษียณอายุ
ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างและได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็นกรณ ี
ดังนี้
ิ
้
้
้
สิทธหนาที่ นายจาง ลูกจาง 8