Page 16 - E-Book-3Neat
P. 16

12













                                        รูปที่ 1.10 ระบบการควบคุมแบบ Closed Loop

                       ที่มา :ดวงเด่น สามนาค และวีรภัทร ปริชม.โครงการสอนวิชาโปรแกรมเมเบิ้ลคอนโทรลเลอร์
                           ระบบการควบคุมแบบ Closed Loop นั้นสามารถที่จะพบเห็นได้ทั่วไปทั้งในงานอุตสาหกรรม

               หรือตามบ้านเรือน ตัวอย่างของระบบการควบคุมแบบ Closed Loop ได้แก่ การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุม

               ความดัน การควบคุมการไหล ระบบควบคุมกระบวนการตู้เย็นที่ใช้ตามบ้านเรือน เป็นต้น


                           7.2) ระบบการควบคุมแบบ Open Loop
                             ระบบการควบคุมแบบ Open Loop คือระบบควบคุมที่เอ้าท์พุทของระบบจะไม่มีผลต่อ

               การควบคุมเลย นั่นคือในกรณีของระบบการควบคุมแบบ Open Loop นั้นเอาต์พุตของระบบจะไม่ถูกวัดหรือ

               ถูกป้อนกลับเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับอินพุท ตัวอย่างของการควบคุมแบบ Open Loop ได้แก่ การควบคุม
               สัญญาณไฟจราจร การควบคุมสายพานลำเลียง การควบคุมการปิด – เปิดไฟ การควบคุมเครื่องซักผ้า

               การควบคุมสัญญาณไฟโฆษณา เป็นต้น







                                         รูปที่ 1.11 ระบบการควบคุมแบบ Open Loop

                       ที่มา :ดวงเด่น สามนาค และวีรภัทร ปริชม.โครงการสอนวิชาโปรแกรมเมเบิ้ลคอนโทรลเลอร์
                             ในการควบคุมแบบ Open Loop นั้นเอ้าท์พุทไม่ได้นำมาเปรียบเทียบกับอินพุต ดังนั้นความ

               เที่ยงตรงของระบบจะขึ้นอยู่กับการปรับเทียบ ในทางการปฏิบัติแล้วจะสามารถใช้การควบคุมแบบ

               Open Loop ได้ถ้าทราบถึงความสัมพนธ์ระหว่างอินพุทและเอ้าท์พุทของระบบ และระบบควบคุมที่ทำงาน
                                                ั
               ตามเวลาที่ได้กำหนดไว้ จะเป็นระบบการควบคุมแบบ Open Loop

                           7.3) ระบบการควบคุมแบบซีเคว้นซ์ (Sequential Control System)

                             ระบบการควบคุมแบบซีเคว้นซ์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบการควบคุมแบบเรียงลำดับ
               หมายถึง กระบวนการทำงานของเครื่องจักรที่ประกอบด้วยการทำงานที่หลายขั้นตอน และสามารถแยกลำดับ

               ขั้นตอนในระบบการทำงานต่างๆ เหล่านั้นออกจากกันได้อย่างชัดเจน ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า สเต็ป (Step)

               วางเรียงกันไปตามลำดับ ส่วนการทำงานในแต่ละสเต็ปถัดไปจะถูกกำหนดเงื่อนไขในการทำงานซึ่งจะเรียกว่า
               ทรานซิทชั่น ( Transition )
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21