Page 10 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 10
พื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำ
ตามสถิติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมงปี พ.ศ. 2549
พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนรวมทั้งสิ้น
ประมาณ 1,245,007.13 ไร่ โดยร้อยละ 65.54 เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำจืด และร้อยละ 34.02 เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ส่วนที่
เหลือเป็นพื้นที่การเพาะเลี้ยงปลาน้ำกร่อย และการเลี้ยงปลาใน
กระชัง โดยมีปริมาณผลผลิตรวม 1,006,173.25 ตัน
ประเภทการเลี้ยงสัตว์น้ำ
การแบ่งประเภทของการเลี้ยงสัตว์น้ำขึ้นกับหลักเกณฑ์ เช่น
การแบ่งโดยลักษณะการให้อาหาร การแบ่งตามอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยง
และการแบ่งตามชนิดสัตว์ เป็นต้น
ั
้
การเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้ลกษณะการใหอาหาร แบ่งเป็น
4 ประเภท ได้ดังนี้
1. การเลี้ยงแบบธรรมชาติ ( Extensive Farm ) เป็นการ คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
เลี้ยงโดยให้กินอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติโดยไม่ให้อาหารสมทบ
เกษตรกรมักใช้วิธีการตัดหญ้าหมักให้เน่าเป็นปุ๋ยข้างบ่อ สัตว์น้ำที่
นิยมเลี้ยงด้วยวิธีนี้ ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียน กุ้ง การเลี้ยงแบบนี้
ต้องใช้พื้นที่มาก ทำให้ไม่คุ้มต่อการจำหน่าย เพราะได้ผลผลิต
ประมาณ 50 – 200 กก./ไร่/ปี
2. การเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา ( Semi-extensive Farm )
เป็นการเลี้ยงที่มีการเพิ่มปริมาณอาหารในบ่อเลี้ยง เช่น การใส่ปุ๋ย
คอก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรืออาหารสมทบเป็นครั้งคราว สัตว์น้ำที่
นิยมเลี้ยงด้วยวิธีนี้ ได้แก่ ปลาจีน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สก กุ้ง
3