Page 90 - ตำรา
P. 90
3. เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานผลิตรายการโทรทัศน์เพอการศึกษา เพราะการผลิตรายการจะ
ื่
ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน จึงต้องวางแผนกันอย่ารอบคอบ และอาจจะต้องมีการวางแผนสำรอง
เผื่อทางเลือกถ้าระหว่างผลิตรายการมีอุปสรรคเกิดขึ้น
4. ช่วยให้การประสานงานของทีมงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการผลิตรายการโทรทัศน์เพอ
ื่
การศึกษา จำเป็นต้องมีทีมงานหลายฝ่าย การวางแผนจะช่วยให้คนในทีมรู้จักบทบาทและหน้าที่
รวมถึงการประสานงานที่ถูกต้อง จึงทำให้การทำงานราบรื่นยิ่งขึ้น
ื่
5. ช่วยในการติดตามการดำเนินงานเป็นระยะกับผู้รับผิดชอบงาน ตั้งแต่เริ่มต้นผลิตรายการโทรทัศน์เพอ
การศึกษาจนถึงทำสำเร็จ นอกจากนี้หากมีปัญหาขัดข้องระหว่างขั้นตอนยังสามารถแก้ปัญหาได้อย่าง
ทันท่วงที
ขั้นตอนการวางแผนการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
การวางแผนการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา จำเป็นต้องมีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ 3
ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิธีการสอน ด้านเนื้อหาวิชา และด้านการผลิตรายการ ทั้งนี้ด้วยความรู้ความสามารถ
ของบุคคลทั้ง 3 ด้านนี้ก็สามารถวางแผนการผลิตรายการโทรทัศน์ได้แล้ว แต่หากรายการนั้นมีวิธีการสอนที่
ยากหรือเนื้อหาซับซ้อนมาก ก็จำเป็นต้องเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิธีการสอนหรือนักวิชาการด้านเนื้อหา มาช่วยใน
การวางแผนการผลิตหรือให้คำปรึกษาในขั้นตอนต่างๆ และยิ่งถ้ามีผู้เข้าร่วมชมเป็นจำนวนมาก ยิ่งต้องใช้เวลา
ความคิด รวมถึงรายละเอียดต่างๆ มากกว่ารายการที่มีผู้ชมขนาดเล็กๆ แต่ไม่ว่ารายการจะเป็นอย่างไร ถ้า
ต้องการให้การทำรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสำเร็จ ก็ต้องมี “ขั้นตอนพื้นฐานในการวางแผน” ซึ่งมี
กระบวนการดังนี้
1. การกำหนดแนวคิด
การกำหนดแนวคิดเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตสื่อ เป็นการจำกัดแนวคิดให้อยู่ในขอบข่ายของเนื้อหาที่
ต้องการ ทั้งนี้การกำหนดแนวคิดบางรายการผู้คิดก็สามารถออกความคิด (Idea) ขึ้นมาเองได้ แต่บางรายการก็
อาจจะถูกกำหนดแนวความคิดให้ผลิตขึ้นมาแล้ว อย่างการกำหนดแนวคิดตามความต้องการหรือปัญหา
ทางด้านการเรียนสำหรับหน่วยการสอนหรือวิชาในหลักสูตรนั้นๆ
2. การกำหนดลักษณะการนำสื่อไปใช้งาน
ขั้นต่อมาหลังจากกำหนดแนวคิดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา จำเป็นต้องมีการกำหนดลักษณะการนำ
สื่อไปใช้งาน ก่อนที่จะไปขั้นตอนต่อไป เพราะสื่อสามารถนำไปใช้ได้หลายอย่าง จึงต้องศึกษาและพิจารณาให้
รอบคอบ เช่น
ใช้สอนโดยตรง (Direct Teaching) การผลิตลักษณะนี้ เป็นรายการเพื่อสอนเนื้อหาสาระตาม
เนื้อหาในหลักสูตร รวมทั้งหมดจนจบขอบเขตของเนื้อหา มักใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ ใช้แทนการเรียนการสอน
ให้ผู้เรียน เรียนตั้งแต่ต้อนจนจบรายการ
ใช้เป็นสื่อการสอน (Teaching Aids) การผลิตลักษณะนี้ เป็นที่จะเสนอเฉพาะบางประเด็น แบ่ง
เนื้อหาแบบย่อยเป็นหลายๆส่วน เจาะประเด็นมาให้ผู้ชมทีละช่วงสั้นๆ และเมื่อจบแต่ละช่วง จะมีกิจกรรม
ต่อเนื่องให้ผู้เรียนปฏิบัติ อย่างรายการวีดิทัศน์ มักใช้กับการเรียนกลุ่มย่อยหรือรายบุคคล
80