Page 91 - ตำรา
P. 91

ใช้เป็นการเสริมความรู้ (Enrichment) การผลิตลักษณะนี้ เป็นการเสนอเนื้อหาที่เสริมความรู้ให้
               เข้าใจเพิ่มขึ้นจากเนื้อหาในหลักสูตร เนื้อหาสาระของการผลิตจะไม่ตรงกับหัวข้อที่กำหนดในหลักสูตร การผลิต

               แบบนี้จึงมักใช้ในการสนับสนุนการเรียนการสอน

                   3.  การกำหนดวัตถุประสงค์ในการผลิต
                       การกำหนดวัตถุประสงค์นี้ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่กำหนดทิศทางของวัตถุประสงค์ทางการเรียนที่ชัดเจน

               และชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ทางการศึกษาอาจจะมีเพียง 1 หรือหลายวัตถุประสงค์ก็ได้ โดยการเขียน
               ออกมาให้ชัดเจน เจาะจง และวัดผลได้ในเชิงพฤติกรรม

                   4.  การวิเคราะห์ผู้ชมรายการ

                       รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กลุ่มเป็นหมายจะแตกต่างกับรายการโทรทัศน์ทั่วไปอย่างชัดเจน
               เพราะผู้ชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาคือ “ผู้เรียน” จึงต้องพิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียน เช่น อายุ
               ระดับการศึกษา ความรู้ในเนื้อหาวิชา ทักษะที่เกี่ยวข้อง เจตคติ วัฒนธรรม ความแตกต่างของแต่ละบุคคลหรือ
               กลุ่มคน หลังจากได้คุณลักษณะเหล่านี้ ก็จะช่วยวางแผนขั้นต่อไปได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจและ

               ความสามารถของผู้เรียน ทั้งเนื้อหาในบท คำบรรยาย ตัวอย่างที่จะยกมาใช้ในรายการ รวมถึงการมีส่วนร่วม
               ของผู้เรียน


                   5.  การเตรียมโครงร่างเนื้อหาของรายการ
                       ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ตอบสนองวัตถุประสงค์รายการ เนื้อหาทั้งหมดที่จำเป็นจะอยู่ในการเตรียม
               โครงร่างเนื้อหานี้ แต่การทำโครงร่างเนื้อหาจะทำได้โดยผู้วางแผนเป็นผู้รู้เนื้อหานั้นๆ หรือโดยปรึกษากับ
               ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา เช่นการค้นหารายละเอียดต่างๆ อาจจะได้จากห้องสมุด การสัมภาษณ์ หรือการไปที่
               สถานที่ต่างๆ ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อนำกลับมาทำโครงร่างหรือว่ากรอบของเนื้อหา ที่

               ประกอบด้วย “หัวเรื่องที่สนับสนุนวัตถุประสงค์” และ “ข้อมูลหรือรายละเอียดของแต่ละหัวเรื่อง”

                   6.  การเขียนบทรายการ

                       การเขียนบทเป็นขั้นตอนที่สำคัญเปรียบเสมือนแผนที่นำทางสำหรับการผลิตรายการที่ช่วยให้ทีงาน
               เข้าใจตรงกันและสามารถผลิตรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการเขียนบทคือการนำรายละเอียดที่
               จำเป็นระบุถึงข้อมูลสำคัญในการผลิตรายการมาเสนอในเนื้อหา เช่น รูปแบบรายการ ภาพ และคำบรรยาย
               เนื้อหาของส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน เพื่อให้รายการผลิตออกมาแบบเสร็จสมบูรณ์ บทโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

               สามารถเขียนออกมาเป็นแบบบทความ (Script) หรือรูปแบบบทประกอบภาพ (Storyboard) ก็ได้ เพื่อให้
               ทีมงานได้เห็นวัตถุประสงค์ เนื้อหาทั้งหมด และเข้าใจการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

                   7.  การเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ในการถ่ายทำรายการ

                       การถ่ายทำมีหลายแบบ ทั้งการถ่ายทำในห้องผลิตรายการ บางรายการถ่ายทำนอกสถานที่ บาง
               รายการมีทั้ง 2 แบบ ถ่ายทำในห้องผลิตรายการและถ่ายทำนอกสถานที่ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ใน
               การถ่ายทำรายการจึงแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องระบบเครื่องมือที่จะใช้ถ่ายทำว่าต้องเป็นระบบแบบ
               ไหน เช่น ระบบ HDV, DVCAM, Betacam, U-Matic หรือ VHS และยังมีเรื่องอุปกรณ์การบันทึกสื่อ ถ้าเป็น

               อดีตจะเป็นระบบอะนาล็อกต้องบันทึกลงม้วนเทป แต่ในปัจจุบันเป็นระบบดิจิทัลสามารถเปลี่ยนการบันทึกลง



                                                           81
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96