Page 261 - เมืองลับแล(ง)
P. 261
้
เมือง ไม่ว่าจะเป็น เกิดน้ำไหลจากดอยท่วมบ้านเรือน พัดพาเอาดินโคลนมาท่วมที่ “สระหนองหลวง” แลว
ชาวเมืองได้ไปปลูกข้าวที่ “ดินหนองดอนมูน” ข้าวก็ไม่ขึ้นงอกงาม
เนื้อความที่ ๓๒
พระเจ้าเชียงใหม่ในกุมม่าน ยกพลเศิกมาหมายกินสรีโยธิยาเวียงไธยใต้ กองเสิกพระญาม่านเชียงใหม่เข้า
ู่
ตีเวียงกวาดข้าวกล้าปลาหลาย แลคนชายใหญ่หน้อย ด้วยว่าจักเอาเป็นข้ากองเสิก พลเศิกหมมานกพา
่
็
กันจับต้อนชาวเวียง กับคนใดเจ็บไข้ได้ยาก กนคนได้เถ้าหนานำ กันคนใดเป็นละอ่อนน้อยกำมีดแล
กำพร้าดาบบ่ได้ จุ่งจักละไว้ แลยู้ฆ่าลางพ่องก็ตำใส่ครกมอง ลางพ่องก็มัดโจ่งลงน้ำ ลงพ่องก็จำขงหื้ออด
ั
ตาย ฝ่ายหมู่พลเศิกชายหาญชาวโยนเชียงใหม่ในกุมม่านนั้น แลหันทุกขกัมม์ตัวหน้าบ้าใบ้ ก็มีใจสลด
หดเส้ ด้วยว่าหมเชื้อเครือโยนสืบมาแต่หนหลัง ก็มีใจเคียดแค้นโกธาหมู่พลเศิกจาวม่าน แต่งลักกมผ้าห่ม
ู่
ุ
ปิดหน้าปิดตัวออกฆ่าสู้หมู่จาวม่านตายต่อนัก กาละนั้นหมื่นฅำกองตนเจ้าก็ม้างตายละ เวียงลับแลงไจย
ทุกขตะบ่ไสหมองขี น้ำตามีนองหน้า ฝูงชาวข้ายากไร้เป็นบ้านปุเวียงพ่ายนั้น ชะแล
กล่าวถึงเหตุการณ์ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวถึง “สาวัตถีนรถามังคยอ” พระราชโอรสพระเจ้า
บุเรงนองที่ได้มาครองเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๑ จนเมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๘ “ศก ๙๔๘ ตัว ปลีดับเร้า เชียงใหม่
61
ยกทัพไพรบเมืองใต้ บ่ได้” จะเห็นได้ว่าในขณะนั้นกษัตริย์เชียงใหม่เป็นเจ้าเชื้อสายราชวงศพม่ามาปกครอง
์
แล้ว ซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐฯ ได้บอกว่า พระเจ้านันทบุเรงได้ให้พระเจ้าสาวถี
ั
(เชียงใหม่) ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๒๗ แล้ว แต่สมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ตีทัพพม่าและทพ
เชียงใหม่จนแตก และใน พ.ศ. ๒๑๒๘ พระเจ้าสาวถี (เชียงใหม่) ได้ยกทัพลงมาอีกครั้งหนึ่ง มาตั้งทัพที่ตำบลสะ
เกษ จนทัพของสมเด็จพระนเรศวรฯ สามารถตีทัพพระเจ้าสาวถี (เชียงใหม่) ได้สำเร็จ ตรงกันกับข้อมูลใน
62
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
แต่ด้วยมีศึกสงครามเกิดขึ้นในช่วงสองปีนี้ทำให้กองทัพหม่าและทัพเชียงใหม่มีการเกณฑ์ไพร่พลทีอยู่
่
กระจัดกระจายตามเมืองต่าง ๆ ตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์จึงพรรณนาความไม่เป็นมงคลเกิดขึ้นมากมาย
ในตอนนี้ และหมื่นคำกอง เจ้าเมืองลับแลงไชยได้เสียชีวิตในศึกสงครามในครั้งนี้ด้วย
แต่จากที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ได้เทครัวชาวหัวเมืองเหนือไปอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาช่วงเดือน ๙ พ.ศ.
๒๑๒๗ หลังจากเสร็จศึกพระยาสวรรคโลก – พระยาพิชัย แล้วเหตุใด ? หมื่นคำกองและชาวลับแลยังได ้
ปกครองเมืองลับแลงไชยต่อ ทั้งที่น่าจะถูกเทครัวลงไปที่กรุงศรีอยุธยาแล้วในก่อนหน้านั้น
61 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙, หน้า ๙๗.
62 ตรงใจ หุตางกูร, ๒๕๖๑, หน้า ๑๕๒ – ๑๕๓.
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑๑๑