Page 180 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 180

ในเดือน ๗ ออก๒ ค่ำ วัน ๔ ไทเปิกสี ยามแตรค่ำ ไว้ลัคนาราศีดุลย์ ลวงแป ๑๕๐๐ วา ลวงขื่อ ๗๐๐ วา

               ประตูยางเถื่อน ๑ ประตูหนองมุด ๑ ประตูเชียงแสน ๑ ประตูท่าม่าน ๑ ประตูดินขอ ๑ มี ๕ ประตู”


                                                        ้
                       ดังนั้น เมืองโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีชางแสน / เมืองเหรัญญนครเงินยางเชียงแสน และเมืองเชยง
                                                                                                       ี
                                                                                                     ิ
               แสน จึงเป็นคนละเมือง/ คนละบริบทกัน แต่ก็อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเมืองโยนกฯ ในตำนานสิงหนวตกุมาร
               คือ หนองหล่ม อยู่บริเวณรอยต่อเขตอำเภอเชียงแสนกับอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย, เมืองเงินยาง อยู่

               บริเวณอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และเวียงปรึกษา อยู่บริเวณปากแม่น้ำกกใกล้เวียงเชียงแสน ของพระญา

               แสนภู
                       ๒.๑.๒ ประวัติเมืองลับแล ได้อ้างถึง พระร่วง ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ครองพระนคร

               สุโขทัย ทรงพระนามว่า พญาศรีจันทราธิบดี เมื่อ พ.ศ. ๑๖๙๐ ซึ่งได้เค้าโครงมาจาก พงศาวดารเหนือ  แต  ่

               พงศาวดารเหนือ บอกว่า พระร่วงได้รับการราชาภิเษกครองเมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๑๕๐๒ ทำให้เห็นว่า ประวัติ
               เมืองลับแล มีความคลาดเคลื่อน

                                                                                                 ิ
                       ๒.๑.๓ ประวัติเมืองลับแล ได้อ้างถึง หม่องซิกซิงโบ แม่ทัพพม่า เข้ามาปล้นเสบียงทางทศตะวันตก
               เฉียงใต้ของเมืองลับแล คือ ด่านแม่คำมัน บุกเข้าถึงท้องลับแล ตั้งค่ายพักกองทัพอยู่ข้างม่อนจำศีล เมื่อ พ.ศ.
                                                                                                 ้
                                                                                                    ั
               ๒๓๕๑ แต่ใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่   ได้ปรากฏชื่อแม่ทัพพม่าชื่อ ซิดซิงโป่ ใน พ.ศ. ๒๓๔๐ ไดยกทพมาต ี
                                                                                                    ั
               เมืองเชียงใหม่ทำให้เห็นว่าข้อความนี้ไม่ตรงกัน ส่วนใน พ.ศ. ๒๓๕๑ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่   มีแม่ทพพม่า
               ชื่อ ม่านโป่นะขามหม่องชะ ได้เข้ามาตีเมืองหลวย เมืองยาง เท่านั้น ซึ่งกองทัพพม่าไม่ได้เขามาถึงเขตเมืองลบ
                                                                                          ้
                                                                                                        ั
               แลเลย ส่วนใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา    ได้บอกว่าแม่ทัพพม่าที่นำทัพเข้ามาตีเมือง
               เชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๔๐ ชื่อ อินแซะหวุ่น หรือ ม่านอิงเซะโป่ ใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่   ส่วนใน พ.ศ.

               ๒๓๕๑ ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา   ไม่ปรากฏว่ามีศึกพม่าเขามาในดินแดนไทย ทำให้เห็น

                                                                                 ้
               ว่า ข้อความตอนนี้ใน ประวัติเมืองลับแล มีความคลาดเคลื่อน


               ๒.๒  ที่มาของชื่อบ้านนามเมือง

                       ประวัติเมืองลับแล ได้กล่าวถึงชื่อบ้านนามเมืองที่เกี่ยวข้องกับเมืองลับแล ดังนี้

                       ๒.๒.๑  ลับแล
                       ใน เรื่องที่ ๓ ปฐมเหตุแห่งหุบเขาลับแล ได้กล่าวถึงที่มาของชื่อลับแล ๒ ประการคือ

                                                                                          ั
               ประการที่ ๑ เดิมมีชื่อว่า “ลับแลง” หมายถึง เป็นพื้นที่ลับตอนเย็น ๆ แสงพระอาทิตย์จะลบแสงจากม่อนฤๅษี
               (แนวทิวเขาทางทิศตะวันตก) อันเป็นภูเขาสูง
                       ประการที่ ๒ ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาบริเวณพระแท่นศิลาอาสน์ แล้วยืนที่วัดพระยืนพุทธ

               บาทยุคล ทอดพระเนตรไปทางทิศเหนือมองไม่เห็นอะไรเลย มืดมัวไปด้วยเมฆหมอก จึงได้ชื่อว่า “ลับแล”

               เพราะพระพุทธเจ้าทอดพระเนตรไปมองไม่เห็นสิ่งใด


                                             การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
                                                        หน้า ๓๐
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185