Page 179 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 179
กลุ่มที่ ๓ มีคำว่า “ช้างแสน” ท้ายชื่อ มีทั้งหมด ๙ คำ คือ
๑. “เมืองโยนกนครบุรีช้างแสน”
๒. “โยนกนครศรีช้างแสนบุรี”
๓. “เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแสน”
๔. “เวียงโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน”
๕. “เวียงโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน”
๖. “เมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน”
๗. “เมืองโยนกราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน”
๘. “โยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน”
๙. “เมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน”
กลุ่มที่ ๔ ใช้คำว่า “เชียงแสน” ท้ายชื่อ มีทั้งหมด ๑ คำ คือ
๑. “เมืองนครโยนกเชียงแสน”
ิ
จนเมืองล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำเพราะกษัตริย์และราษฎรไปกินปลาไหลเผือก ส่วนตำนานสงหน
วติกุมาร ใช้ว่า ปลาตะเพียนเผือก จนทำให้เวียงถูกน้ำท่วมล่มจมในคืนวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีเถาะ
พ.ศ. ๑๕๕๘ ในสมัยของพระองค์มหาชัยชนะ กษัตริย์องค์ที่ ๔๕
จากนั้น พ.ศ. ๑๕๕๘ ขุนลัง ได้ตั้งเวียงใหม่ชื่อว่า เวียงปรึกษา ริมแม่น้ำโขงฝั่งตะวันตก และอยู่ทางทศ
ิ
ตะวันออกของเวียงโยนกเดิม มีเจ้าครองเวียงปรึกษามา ๑๖ พระองค์ มีขุนสุข เป็นเจ้าเวียงปรึกษาเป็นคน
สุดท้าย ตรงกับ พ.ศ. ๑๖๕๑
ส่วนอีกตำนานหนึ่งของล้านนาคือ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ได้เริ่มด้วยเทวบุตรชื่อลาวจกหรือ
พระยาลวะจังกราชได้ขึ้นเป็นเจ้า “เมืองหิรัญญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสน” ซึ่งในตำนานสิงหนวัติกุมารก็มี
ิ
ิ
ุ
เรื่องลาวจกเหมือนกัน แต่กล่าวไว้ว่าเป็นหัวหน้าชาวป่าชาตละว้า เรียกว่าปู่เจ้าลาวจกหาใชเทพบุตรทจตลงมา
ี่
่
เป็นท้าวพระญามหากษัตริย์และว่าเป็นเรื่องอยู่ในสมัยต้นพุทธกาลก่อนเรื่องลาวจกในพงศาวดารเงินยางเชยง
ี
ี
แสนมากมาย และพงศาวดารเมืองเงินยางเชยงแสนยังเป็นตำนานที่กล่าวถึงบรรพชนของราชวงศ์มังราย จาก
ตำนานล้านนาทั้งสองฉบับเมืองของสิงหนวัติกุมารที่เป็นเค้าให้กับตำนานเมืองลับแล ออกชื่อว่า “ช้างแสน”
แต่พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน (ปู่เจ้าลาวจก) ออกชื่อว่า “เชียงแสน” ชัดเจนกว่า
ั
แต่กระนั้นเมืองเชียงแสนของ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ก็มิใช่เมืองเชียงแสนในสมย
ราชวงศ์มังราย ซึ่งเมืองเชียงแสนในสมัยราชวงศ์มังรายสร้างโดยพระญาแสนภู ชินกาลมาลีปกรณ์ บอกวา
่
พระญาแสนภูสร้างเมืองเชียงแสนเมื่อ พ.ศ. ๑๘๗๐ ใกล้สบกกคือเมืองโบราณเชียงแสน อำเภอเชียงแสน
จังหวัดเชียงราย อีกทั้ง ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ให้รายละเอียดในการสร้างเมืองเชียงแสนวา “สราง
่
้
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๒๙